Page 61 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 61

55


               ระบบ กลไก และวิธีการจัดการจะคงอยู่ได้ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่อง ยืดหยุ่นได้ตามบริบทและงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลง
               เช่น นโยบายจากภาครัฐ นโยบายและจุดเน้นของมหาวิทยาลัย และความต้องการของชุมชน จึงควรมีการพิจารณา

               กฏเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป

                       -  การมีผู้ทรงคุณวุฒิจากส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ เป็น
               พี่เลี้ยง (Mentoring) แนะน าวิธีการท างาน ช่วยเหลือสนับสนุน และให้ค าปรึกษาชี้แนะ ในลักษณะการสอนงาน
               (Coaching) แก่ผู้บริหารโครงการและนักวิจัย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายที่ได้รับทุน
               สนับสนุนการวิจัยกลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน  ท าให้การวางระบบ กลไก การจัดการ ประสบผลส าเร็จ

               ตามวัตถุประสงค์ และท าให้นักวิจัยมีการพัฒนาตนเองต่อเนื่อง แต่การท างานวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีลักษณะบูรณาการ
               ร่วมกันหลายหน่วยงาน จึงจ าเป็นต้องพัฒนานักวิจัย ด้านทักษะการจัดการงานวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถท างาน
               วิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างสาขา และหน่วยงานภาคี พร้อมทั้งท างานของตนเองได้ส าเร็จตามวัตถุประสงค์และเสร็จ
               ตามเวลาก าหนด ขณะเดียวกันต้องพัฒนาระบบนักวิจัยพี่เลี้ยงและระบบการสอนงาน เพื่อให้งานมีการพัฒนา

               ต่อเนื่อง สามารถพึ่งตนเองได้

                       -  นักวิจัยใหม่ นักวิจัยที่มีประสบการณ์ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการงานวิจัย และการท างานวิจัยแบบมีส่วน
               ร่วม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจาก สกว. และการถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างนักวิจัย ท าให้พัฒนานักวิจัยที่มีประสบการณ์
               สู่การเป็นพี่เลี้ยง และพัฒนานักวิจัยใหม่ให้มีทักษะการท างานวิจัยเชิงพื้นที่ และมีทักษะการท างานร่วมกับชุมชน
               และภาคีเครือข่ายเรียนรู้งานจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก นักวิจัย มีทัศนคติการท าวิจัยที่ค านึงถึงผู้ใช้

               ประโยชน์และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการท าวิจัย  ดังเช่น การสะท้อนคิด (Reflection)  คุณค่าของงานวิจัย
               ระหว่างและหลังการด าเนินการวิจัยแล้วเสร็จ ว่าเป็น “งานวิจัยที่โจทย์ปัญหาหรือประเด็นการวิจัยเป็นความ
               ต้องการของชุมชน มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น การท างานวิจัยต้องอาศัยการมีส่วนร่วม

               ระหว่างชุมชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และผลการวิจัยต้องสามารถน าไปใช้แก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนใน
               การพัฒนาพื้นที่ต่อไป” ซึ่งทัศนคติและการท างานที่มีผู้ใช้ผลงานท าให้นักวิจัยมีแรงผลักดันในการท าผลงานวิชาการ
               เพื่อสังคม

                       -  ชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่ายมีความเข้าใจในพันธกิจของมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น ว่ามหาวิทยาลัยมี
               บทบาทหน้าที่ทางวิชาการ ไม่มีงบประมาณหรือสิ่งของมาแจก ความเข้าใจนี้น าไปสู่ความคาดหวังใหม่ และ

               วางแผนการท างานร่วมกันตามบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงาน เนื่องจากเป้าหมายของการจัดการมองถึงการเป็น
               ที่พึ่งทางวิชาการกับพื้นที่ในระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด จึงควรมีการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อน าผลการท างาน
               ในพื้นที่สู่การขยายผล การเลือกโจทย์วิจัยควรเป็นปัญหาที่ใหญ่และส่งผลกระทบสูงขึ้นและเป็นโจทย์วิจัยที่คาดว่า
               จะแก้ปัญหาที่เกิดในอนาคต ซึ่งจะท าให้ผลงานสามารถใช้แก้ปัญหาได้ทันที

                       -  ระบบหรือกลไกที่จะหนุนเสริมโครงการวิจัยที่พร้อมขยายผลสู่การน าไปใช้ประโยชน์ ควรด าเนินการ

               ทันทีให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ส าหรับโครงการที่ไม่พร้อมขยายผลในทันทีควรวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อจัดการให้
               เหมาะสมกับประเภทของโครงการ เช่นบางโครงการมีความจ าเป็นต้องด าเนินการวิจัยเพิ่มเติมหรือบางโครงการ
               อาจจ าเป็นต้องยุติ/ยกเลิกโครงการ นอกจากนี้บางโครงการวิจัยมีองค์ความรู้พร้อมในการถ่ายทอดสู่ชุมชนเพื่อ
               น าไปปฏิบัติแต่ต้องมีกระบวนการที่เหมาะสมในการหนุนเสริมให้ชุมชนน าไปใช้ประโยชน์ต่อไป
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66