Page 57 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 57
51
จ าเป็นต้องมีการจัดการความสัมพันธ์กับองค์กร หรือบุคคลอื่นๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ภายใต้บริบท สถานการณ์ และเงื่อนไขที่ไม่แน่นอน การจัดการจึงควรมีรูปแบบและขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่ตายตัว
มีการทบทวนเพื่อท าความเข้าใจในตัวระบบที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริบทรอบๆ ตัว ขณะเดียวกันต้องสามารถ
จ าแนกระหว่างระบบและบริบทออกจากกันได้ด้วย การพัฒนาระบบ กลไก การจัดการงานวิจัยจึงต้องใช้ความรู้
และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อพัฒนาต่อเนื่องยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบท
และเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงจากภายนอก
ด้วยปัญหาดังกล่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จึงได้เสนอโครงการวิจัย การพัฒนาระบบ
การจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดนนทบุรี สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา และได้รับทุนสนับสนุนจาก
จากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนา
ประเทศ กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน ซึ่งมีส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นผู้บริหาร
ทุน และเป็นพี่เลี้ยงในการด าเนินงาน
วิธีการด าเนินงาน
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้น ากรอบแนวคิดและประสบการณ์การวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area
Based Collaborative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการท างาน และนักวิจัยท างานร่วมกันกับ
ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียตัวจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการวิจัย ที่สามารถใช้จัดการเรื่องส าคัญของพื้นที่ให้น าไปสู่การ
พัฒนาและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2559) น ามาเป็นตัวแบบการพัฒนา
ระบบการวิจัยของมหาวิทยาลัย ด าเนินการร่วมกับการจัดการวงจรคุณภาพ (PDCA cycle) และหลักพันธกิจ
สัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (วิจิตร, 2557) และใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการท างาน (มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2559)
การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) การพัฒนาระบบ กลไก และการจัดการงานวิจัยของ
มหาวิทยาลัย ด าเนินงานโดยตั้งหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน เพื่อทดลองหารูปแบบการท างาน โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการงานวิชาการตามหลักพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม และก าหนดเป้าหมายเพื่อ
การเปลี่ยนแปลงให้ได้ผลผลิต (output) ใหม่จากกระบวนการ คือ ผลงานวิจัยที่ได้สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการ
พัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีองค์ประกอบที่ต้องพัฒนาในกระบวนการควบคู่ไปทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบบ กลไก และการ
จัดการงานวิจัยตั้งแต่การสกัดโจทย์วิจัยจากพื้นที่ การพัฒนาข้อเสนอการวิจัยที่สามารถใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาเชิง
พื้นที่ การสร้างบรรยากาศวิชาการเพื่อส่งเสริมกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และช่วยเหลือนักวิจัยระหว่างทาง
การเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ประโยชน์และการสื่อสารสาธารณะ 2) ด้านการพัฒนานักวิจัย ให้สามารถด าเนิน
งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีทักษะการท างานเป็นทีม สามารถท างานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย และทัศนคติ
การท างานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 3) ด้านคุณภาพของผลงานวิจัย เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถเผยแพร่ใน
วารสารวิชาการ และสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง การด าเนินงานใช้เครื่องมือการจัดการความรู้หลายเครื่องมือ
ผสมผสานกัน ได้แก่
หน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน บริหารจัดการในรูปแบบคณะท างานที่เป็นทีมข้ามสายงาน
(Cross-Functional Team) ประกอบด้วยผู้แทนจากคณะต่างๆ โดยมีรองอธิการบดีด้านการวิจัยเป็นประธาน มี
หน้าที่ วางแผนบริหารจัดการเพื่อพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเชิงพื้นที่ โดยประสานงานกับภาคีเครือข่ายองค์กร