Page 88 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 88
82
การจัดการความรู้จากบทร้องของผีมด (ร่างทรง) ในพิธีกรรมเสนของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ด า
(ลาวโซ่ง) บ้านไผ่หูช้าง อ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Knowledge management from Pee Mod (Shamens) lyrics in Sane ceremony of
Tai – Dum (Lao - Song) at Ban Phai Hu Chang in Bang Lane district,
Nakhon Pathom province
อลงกรณ์ อิทธิผล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
E-mail: Alonkorn_53@hotmail.com
บทสรุป
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บสะสมรวบรวมแนวคิดจากบทร้องในพิธีกรรม “เสน”ของคนไทด า
อ าเภอ ดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มจากค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต าราและลงมือเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้
วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และบันทึกเทป พิธีกรรมเซ่นสังเวยของคนไทด า (ลาวโซ่ง) เรียกว่าพิธี “เสน” ถือเป็น
ค าพูดที่เรียกว่า “ค าเรียกขวัญ” จัดเป็นพิธีกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของคนไทยมีรูปแบบและพิธีกรรมเหมือนการล าผีฟ้า
ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ซึ่งสืบทอดมาจากคนไทด าในแคว้นสิบสองจุไททางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม พิธีกรรม
นี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องการนับถือผี โดยเฉพาะผีฟ้าพญาแถนซึ่งเป็นเทวดาผู้มีอ านาจสูงสุด พิธีกรรม
ประกอบด้วยขั้นตอนอัญเชิญผีฟ้าพญาแถน 5 ขั้นตอน คือ 1. การเชิญผีลงมาจากสวรรค์ 2. การล าส่องเพื่อ
ตรวจดูอาการป่วยและไต่ถามหาสมุฏฐานของความเจ็บป่วย 3. การล าปั่วเพื่อรักษาด้วยวิธีขอร้องให้ผีช่วยปัดเป่า
โรคภัยออกไปจากผู้ป่วย 4. การเรียกขวัญผู้ป่วยที่หนีไปจากร่างให้กลับคืนมา 5. การลาผีและส่งผีกลับคืนสู่
สวรรค์ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลภาคสนามจากบทขับเรียกชวัญ 5 บท จากร่างทรงเจ้า 5 คน แล้วน ามาวิเคราะห์
ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์ เรื่อง การใช้วัจนกรรม ของ จอห์น อาร์. เซอร์ล ผลการศึกษา มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
คนไทด ามีความเชื่อในเรื่อง “ผีฟ้า” ซึ่งหมายถึง เทพยดาและรวมทั้งผีบรรพบุรุษเหมือนกัน มีประเพณีเซ่นสังเวย
ในเดือน ๕ , ๖ หรือ 7 โดยเรียกชื่อพิธีกรรมนี้ว่า “เสน” โดยมีทัศนคติที่ดีต่อพิธีกรรมดังกล่าว และเชื่อว่าการบูชา
และเซ่นสังเวยผีฟ้าจะส่งผลดีต่อตนเองและครอบครัว ท าให้สุขภาพแข็งแรง ประกอบการท างานเจริญรุ่งเรือง
นอกจากนี้ การประกอบพิธีกรรมเสนจะช่วยให้การประกอบงานเกษตรกรรมได้ผลดี เพราะเชื่อว่า การท าพิธีกรรม
จะท าให้ผีฟ้าพญาแถนปล่อยฝนลงมาให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนี้พิธีกรรมดังกล่าวยังสื่อให้เห็นถึงมรดกทาง
วัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชาชนจีน ซึ่งในปัจจุบัน
คนไทในมณฑลยูนนาน และกวางสี รวมทั้งบริเวณดินแดนตอนเหนือของเวียดนาม (สิบสองจุไท) ต่างก็มีพิธีกรรม
ดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ของคนไทที่จะแสดงถึงความสมัครสมานกลมเกลียว ร่วมแรงรวมใจใน
การประกอบกิจการงานต่าง ๆ ในวิถีชีวิต ท าให้การคงอยู่ของความเป็นญาติพี่น้องซึมซับอยู่ในชนเผ่าไท การนับ
ญาติและลูกหลาน ท าให้คนไทยยังเป็นชาติอยู่จนทุกวันนี้ แม้จะมีการปริวรรตรูปแบบและขั้นตอนทางพิธีกรรมไป
จากเดิมในแต่ละท้องถิ่น แต่สาระอันเป็น “แก่น” ของวัฒนธรรมจะด ารงอยู่ตลอดไป งานวิจัยนี้ได้ผลสรุปที่
สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี วัจนกรรมที่ว่า “ค าพูดก่อให้เกิดการกระท า” เพราะค าเรียกขวัญสามารถใช้ค าพูด
สร้างขวัญและก าลังใจให้ผู้ป่วยจนฟื้นเป็นปกติได้
ค าส าคัญ: ผีฟ้าพญาแถน พิธีกรรมเสน ไท-ด า (ลาวโซ่ง)