Page 90 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 90

84


               บทน า

                           ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามค าแหงมหาราชที่บันทึกเมื่อ พ.ศ. 1826 ตามที่ ประเสริฐ  ณ นคร
               ได้แปลความไว้เป็นภาษาไทยปัจจุบันว่า “ เมืองสุโขทัยนี้มีพระขพุง (ภูเขาสูงใหญ่) ผีเทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่
               กว่าทุกผี (เทวดาทุกองค์) ในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมือง สุโขทัยนี้แล้ (และ)ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง  (มั่นคง) เมืองนี้ดี

               ผีไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก   ผีในเขาอั้น (นั่น)  บ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ” (๒๕๕๑ : ๑๐๕)
                            จากข้อมูลนี้จึงถือได้ว่า คนไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความเชื่อเรื่องผีแล้ว และน่าจะฝังรากลึกลงในวิถีชีวิต
               ของคนไทยมาก่อนหน้านี้  แม้ว่าปัจจุบันนี้โลกจะเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่ปราศจากพรมแดนในการติดต่อสื่อสารและมี

               ความเจริญสูงสุดทางเทคโนโลยี แต่ความเชื่อในโชคลาง และอ านาจเหนือธรรมชาติ  ก็ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ใน
               ข่าวสารต่าง ๆ
                            ส าหรับความเชื่อเรื่อง ชีวิตหลังความตายจะเริ่มเมื่อจิตออกออกจากร่างกาย ส าหรับ “จิต” นี้ เรียก
               “วิญญาณ”  เมื่อตายแล้ว และเรียก “ขวัญ”  ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะ “จิต” เป็นสิ่งที่ไม่แตกดับ จะคงอยู่

               ตลอดไปแล้วแต่บุญหรือกรรมที่ได้ท าเอาไว้  คนไทยจึงมีวิธีการติดต่อกับผีหรือวิญญาณด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ โดย
               ผ่านร่างทรง ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น หมอเทียม  เฒ่าจ้ า นางเทียน นางทรง  แม่มด  พ่อ
               มด  หมอผี  นางทรง  เป็นต้น  แม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะนับถือพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ความ
               เชื่อเรื่องผีก็ยังคงอยู่ เพียงแต่มีการสร้างรูปแบบที่แตกต่างไปจากพิธีกรรมดั่งเดิม ไทยทรงด า (ลาวโซ่ง) จะท าเครื่อง

               บัดพลีบูชาผีที่ตนเคารพนับถือด้วยสิ่งที่เรียกว่า “สะโตง หรือ กะล้อห่อง” (ภาชนะที่ท าด้วยกาบกล้วยมาหักสี่มุม
               แล้วบรรจุข้าวปลาอาหาร เหล้า ยาสูบ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นของเซ่นไหว้ผี)  โดยอาศัยบุคคล (ผีมด) ที่เป็นสื่อใน
               การติดต่อกับผีให้เป็นผู้ท าพิธีเชิญผีด้วยการเข้าทรง เพื่อให้มาช่วยดับทุกข์ ท าลายอุปสรรค สิ่งอัปมงคล หรือบ าบัด
               โรคภัยให้หายไป

                         เมื่อเสร็จจากพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ที่เรียกว่า “พิธีกรรมเสน” ก็จะมีการท าบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วน
               กุศลให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ที่คนไทยทรงด า
               (ลาวโซ่ง) ยึดถือร่วมกันว่า หากผู้ใดประพฤติตามท านองครองธรรม เซ่นสรวงสังเวยผีตามขนบธรรมเนียมประเพณี

               ย่อมจะน าความผาสุกมาสู่ตนเองและครอบครัว
                         ส าหรับงานชิ้นนี้ มุ่งจะศึกษาและเก็บรวบรวมภูมิปัญาชาวบ้านเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “ผีฟ้าพญาแถนใน
               พิธีกรรมเสน” ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ด าในประเทศไทยที่เรียกตนเองว่า ไทยทรงด า (ลาวโซ่ง) ซึ่งเชื่อถือในอ านาจสิ่ง
               ศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ  ส าหรับไทยทรงด า (ลาวโซ่ง)  ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ที่ทางรัฐไทย (สยาม) ในช่วงต้นกรุง
               รัตนโกสินทร์ได้กวาดต้อนมาจากแคว้นสิบสองจุไท (สิบสองเจ้าไท) ซึ่งอยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศสาธารณรัฐ

               สังคมนิยมเวียดนาม และบริเวณตอนเหนือของเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
               ประชาชนลาว   คนเหล่านี้มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ ว่า  “ไตด า ไทยทรงด า ลาวโซ่ง”  ซึ่งชื่อนี้มาจากการที่พวกเขาสวม
               ใส่เสื้อผ้าสีด า หรือ ผ้าย้อมคราม   ค าว่า “โซ่ง” เพี้ยนเสียงมาจากค าว่า “ซ่วง” หรือ “ส้วง” แปลว่า กางเกง

               บางครั้งเพี้ยนเสียงเป็น “ทรง” จึงกลายเป็น “ไทยทรงด า”  ซึ่งสอดคล้องกับที่  วิภาวรรณ  อยู่เย็น ได้ให้ทรรศนะ
               ไว้ว่า “ ที่เรียกว่าไทด า (Black Tai) นั้น เนื่องมาจากเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นการเรียกตามสีเครื่อง
               แต่งกายของคนไทยกลุ่มนี้ที่นิยมแต่งกายด้วยผ้าสีด า เช่นเดียวกับเรียกคนไทที่อยู่ตอนเหนือของเวียดนามแถบเมือง
               ไล ซึ่งนิยมนุ่ห่มด้วยผ้าสีขาวว่า “ไทขาว” (White Tai)  อีกประการหนึ่ง เรียกตามถิ่นที่อยู่อาศัย กล่าวคือ พวกไท
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95