Page 92 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 92
86
ปฏิบัติ และขาดการจดบันทึกขั้นตอนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โอกาสที่จะสูญหายหรือเสื่อมความนิยมย่อมเกิดขึ้น
ได้เสมอ
ดังนั้น การจัดการความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในสังคม ซึ่งเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัว
บุคคล (Tacit Knowledge) ถือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ที่สั่งสมกันมา เป็นความรู้ที่เป็นพรสวรรค์หรือ
สัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการท าความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่อง จิตวิญญาณของคน ที่เรียกกันว่า
“บทท าขวัญ หรือเฮียกขวัญ” จัดเป็นองค์ความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นค าพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้
โดยง่าย เพราะเป็นเรื่องของนามธรรม ที่ต้องอาศัยความเชื่อถือและศรัทธาในตัวบุคคลเป็นที่ตั้ง ผู้ที่เป็นคนเรียก
ขวัญ (หมอมด) และผู้เข้าร่วมพิธี ต้องมีใจยึดมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือร่วมกัน นั่นคือ “เชื่อในอ านาจอัน
ศักดิ์สิทธิ์ของผีฟ้าพญาแถน” จึงจะสามารถช่วยรักษาและขจัดปัดเป่าโรคภัย และสิ่งอัปมงคลออกไปได้จากผู้
เจ็บป่วย (ส่วนมากเจ็บป่วยทางใจ) มิฉะนั้น การท าพิธีกรรมก็ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวไทยทรงด า (ลาวโซ่ง) ยังคงด ารงอยู่ และ
มีให้เห็นอยู่ในงานประเพณีท าบุญประจ าปี เช่น ตรุษสงกรานต์ ที่เป็นงานเทศกาลท าบุญประจ าปีที่ยิ่งใหญ่ จัดเป็น
งานรวมญาติพี่น้องชาวไทยทรงด า (ลาวโซ่ง) และมีการท าพิธีกรรมดังกล่าว หากไม่มีการอนุรักษ์และสืบสานภูมิ
ปัญญาเรื่องนี้ไว้ให้เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยคาดการณ์ว่า อาจจะมีเรื่องราวบางขั้นตอนทางวัฒนธรรมใน
พิธีกรรมนี้สูญหายไปได้ เพราะคนแก่คนเฒ่าที่เป็นเจ้าพิธีก็เริ่มลดน้อยลงไปตามวันเวลา นอกจากนี้ จัดการความรู้
ในงานพิธีกรรมนี้ ยังเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมไว้ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ใช้ศึกษาและน าไปต่อยอด
ท างานธุรกิจด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เพื่อท าเป็นงานประจ าปีหรืองานบุญประเพณีประจ าจังหวัด ถือได้ว่า เป็น
การสร้างงานและรายได้ทางธุรกิจการท่องเที่ยวให้กับชุมชนในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง และที่ส าคัญเหนือสิ่งอื่นใด
พิธีกรรมนี้ก็จะคงอยู่คู่จังหวัดนครปฐมต่อไป
ผลงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อน าแนวคิดทฤษฎีวัจนกรรมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบทขับร้องเรียก
(เฮียก) ขวัญ จ านวน 5 บท จากร่างทรงเจ้า 3 คน ตามทฤษฎีวัจนกรรมของ John R. Searle (1969, น. 12-20)
ที่กล่าวว่า การใช้ค าพูดมีอิทธิพลที่จะก่อให้เกิดผลหรือปฏิกิริยาต่าง ๆ ตามมา โดยมีสมมติฐานความเชื่อว่าว่า
การรักษาความเจ็บป่วยหรือการขับไล่สิ่งอัปมงคลด้วยบทร้องเรียกขวัญประกอบเครื่องขับกล่อม มีรูปแบบเหมือน
การใช้ดนตรีบ าบัด (music therapy) ในสมัยปัจจุบัน วิธีการนี้เป็นการเยียวยารักษาจิตใจและเรียกขวัญก าลังใจ
ให้กลับคืนมาสู่ตัวของผู้ป่วย เมื่อขวัญหรือก าลังใจกลับมา ผู้ป่วยจะมีจิตใจเข้มแข็ง ร่างกายที่เจ็บป่วยอ่อนแรงก็จะ
กลับมามีเรี่ยวแรงดีขึ้น และพร้อมที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ (โรคทางพยาธิสภาพ) ต่อไป รวมทั้งสิ่งอัปมงคล
ทั้งหลายก็จะหายไปจากผู้เจ็บป่วยด้วย
ในงานชิ้นนี้ ผีฟ้าพญาแถน หมายถึง ผู้ประกอบพิธีกรรมอัญเชิญพญาแถน เทวดาบนสวรรค์ รวมทั้งผี
บรรพบุรุษ โดยใช้ตัวเองเป็นสื่อหรือร่างทรง ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Shamans” ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น
ร่างทรงเจ้า หมอล าผีฟ้า หมอเหยา นางเทียม เฒ่าจ้ า เป็นต้น โดยผู้วิจัยใช้การศึกษาค้นคว้าแบบออกส ารวจ
ภาคสนาม โดยเลือกจากกลุ่มประชากรสืบเชื้อสายมาจากชาติพันธุ์ตามที่ต้องการ ในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ กลุ่ม
ชาติพันธ์ไทด า (ลาวโซ่ง) บ้านไผ่หูช้าง อ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม