Page 93 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 93
87
วิธีการด าเนินงาน
ผู้วิจัยเริ่มต้นเก็บข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ต ารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเริ่มออก
ส ารวจข้อมูลภาคสนามโดยเริ่มต้นจากการใช้เทคนิควิธีแบบแบบบอกต่อ (Snowball Sampling Technique) ซึ่ง
สุ่มตัวอย่างคนแรกที่ถูกเลือก จะบอกต่อถึงผู้เป็นร่างทรงเจ้าที่มีชื่อเสียงในจังหวัดของตนเอง 2 คน ซึ่งจากการ
สัมภาษณ์และสอบถาม พบว่า หมอมด (ร่างทรง) จะเป็นผู้มีภูมิล าเนาในอ าเภอเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (ผู้วิจัยคาด
ว่าที่ผลการคัดเลือกเป็นลักษณะนี้เพราะเป็นความสัมพันธ์ส่วนตนและระบบเครือญาติ) โดยผู้วิจัยเลือกผู้ที่มี
คุณสมบัติตรงกับที่ผู้วิจัยต้องการ คือ เป็นร่างทรงเจ้าที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในกลุ่มร่าง
ทรงเจ้าด้วยกัน แล้วเข้าร่วมสังเกตการณ์ในพิธีกรรมเสนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ที่จัดขึ้นตามเทศกาล ใช้วิธีเฝ้าดูกิริยา
อาการของหมอมด (ร่างทรง) และผู้เข้าร่วมงาน มีการบันทึกเทปบทร้อง และวีดิทัศน์ขณะประกอบพิธีกรรม แล้ว
น ามาถ่ายเทปเสียงร้องออกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสรุปสาระส าคัญและขั้นตอนต่าง ๆ ในการประกอบพิธีกรรม
งานทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน และคนในท้องถิ่นอย่างมาก มิฉะนั้น ขั้นตอนต่าง ๆ ที่วางแผนไว้
อาจจะไม่บรรลุตามที่ตั้งใจไว้
ผลสรุปและการอภิปรายผล
จากการศึกษาพบว่า วิธีการรักษาของหมอมด (ร่างทรง) มักใช้ค าพูดเพื่อปลอบประโลมใจผู้ป่วย ซึ่ง
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของค าพูดที่มีผลต่อความรู้สึกของผู้ฟัง เพราะเมื่อผู้ฟังเกิดขวัญและก าลังใจ ก็ย่อมท าให้มี
เรี่ยวแรงที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้ต่อไป อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้ ผลการรักษาอาจจะไม่
ส าเร็จทุกรายไป ซึ่งก็คล้ายกับทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่บางโรคก็ไม่ทราบสาเหตุและรักษาไม่หายเช่นกัน
จากการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดจะพบว่า หมอมด หรือร่างทรงเจ้านั้นจะมีลักษณะพิเศษตรงที่จะเป็นคนสูงอายุ
มักเป็นเพศหญิงมากกว่าชาย ซึ่งมักจะมีประสบการณ์ในการด าเนินชีวิต ท าให้สามารถวิเคราะห์เรื่องราว หรือ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ว่า ความเจ็บป่วยนั้น มีสาเหตุมาจากสิ่งใด การใช้ค าพูดในการปลอบประโลมผู้ป่วย
นั้น หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ทุกถ้อยค าล้วนมาจากประสบการณ์ที่พบมาในชีวิตทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการอัญเชิญสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์มาช่วยในการรักษา การอ้อนวอนขอร้องผีให้ช่วยรักษาคนป่วย การเจรจาต่อรองกับผี เพื่อให้ผีพอใจในค า
สัญญา (การให้เครื่องเซ่นบัดพลีต่าง ๆ) การขอขมาลาโทษต่อผีที่ได้ล่วงเกินไม่เคารพต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ (การ
ผิดผี บางทีเรียกว่า ขะล า) ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยควบคุมวิถี
ชีวิตของคนในชุมชนให้ร่มเย็นเป็นสุข จากการออกเก็บข้อมูลภาคสนามในภาค ท าให้ทราบว่า ยังมีคนไทยกลุ่มชาติ
พันธุ์ต่าง ๆ เช่น ลาวเวียง ลาวครั่ง ลาวพวน ซึ่งอาศัยอยู่ปะปนกันในหมู่บ้านต่าง ๆ คนเหล่านี้ล้วนยังคงมีความ
เชื่อถือศรัทธาในอ านาจเหนือธรรมชาติทั้งสิ้น โดยเฉพาะการศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับผี นับเป็นเรื่องที่น่าน ามา
ศึกษาถึงลักษณะร่วมและความแตกต่างว่า เพราะเหตุใดอ านาจของสิ่งลึกลับเหล่านี้ จึงยังมีอิทธิพลเหนือจิตใจของ
คนไทยในกลุ่มต่าง ๆ อยู่จนถึงทุกวันนี้ และยังคงใช้อ านาจของผีในการรักษาเยียวยาความเจ็บป่วยอยู่ในหลายๆ
กลุ่มชาติพันธ์ รวมทั้งการศึกษาความเชื่อที่แฝงมากับนิทานพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะร่วม
กันของชาติพันธุ์ไทที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ความ
บริสุทธิ์ของหญิงสาว การเป็นผู้น าครอบครัวของเพศชาย หลักปฏิบัติของกุลสตรี (แม่ศรีเรือน) การกินอยู่หลับ
นอนให้ถูกต้องตามวิถีชีวิตคนไทยในชนบท เป็นต้น