Page 128 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 128

122


               Architecture  and  increased  good  networking  relationship  in  learning  framework  between
               faculty, students, and alumni.

               Key words: Strength, Transformative learning, Learning activities

               บทน า
                       ปัจจุบันแนวคิดในการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ๆ เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการปฏิรูปการศึกษา
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเรียนรู้ที่ไม่ได้จ ากัดอยู่เฉพาะในชั้นเรียน เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนใน

               ปัจจุบันอาจไม่เพียงพอที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ได้ แม้ว่าพยายามที่จะปรับเปลี่ยนแต่ก็ไม่อาจ
               ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่มีการเรียนรู้กว้างขวางมากขึ้น เรื่องส าคัญในการศึกษาไม่ใช่เนื้อหา
               ความรู้ แต่เป็นทักษะการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นทักษะส าคัญของการศึกษาในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเผยแพร่ได้อย่าง
               รวดเร็ว

                       ทฤษฎีด้านการเรียนรู้สมัยใหม่จากหนังสือ How Learning Works ได้กล่าวถึงค าพูดของ Herbert A.
               Simon นักเศรษฐศาสตร์และนักจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ว่า “การเรียนรู้
               เป็นผลของการกระท าคือ การลงมือท าและการคิดของผู้เรียนเท่านั้น ครูเป็นเพียงผู้ช่วยท าให้เขาลงมือท าและ

               คิดเพื่อที่จะเรียน ครูไม่สามารถท าให้เขาเรียนได้” ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้นั้นเป็นการเรียนรู้ที่ได้ประโยชน์
               น้อย เมื่อเทียบกับการที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือท าและคิด ซึ่งเป็นการเรียนรู้จริงที่เกิดจากภายในตัวผู้เรียนเอง













                                                         ภาพที่ 1 Learning Pyramid

                                                   ที่มา : National Training Laboratories, 1969

                       จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้แบบฟังบรรยาย  (Lecture) หรือสอนแบบพูด มีอัตราการ
               เรียนรู้ (Retention Rate) ได้เพียง 5% ส่วนการสอนคนอื่นหรือลงมือท า โดยน าความรู้มาใช้หรือลงมือทันที

               (Teach  Others/  Immediate  Use)  อัตราการเรียนรู้ได้มากถึง 90% ดังนั้น การเรียนโดยวิธีเสพหรือรับ
               ถ่ายทอดความรู้ (Passive Learning) นับว่าได้ผลน้อย เกิดการเรียนรู้น้อย ส่วนการเรียนรู้แบบสร้างความรู้
               ด้วยตนเองผ่านการลงมือท าและคิด (Active  Learning)  จะท าให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง หรือเรียกว่า
               Constructionism (วิจารณ์ พานิช, 2556: 27-28)

                       การเรียนรู้ที่แท้จริงในทุกระดับอายุและทุกระดับการศึกษาล้วนต้องเป็น Transformative Learning

               ทั้งสิ้น คือ เป็นการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตน ในลักษณะของการให้ความหมายใหม่ของสิ่ง
               ต่างๆ เรื่องราวต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านโลกทัศน์ความมุ่งมั่น และพฤติกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นการ
               เรียนรู้ที่น าไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Mindset  Change)  หรือเปลี่ยนโลกทัศน์  ดังที่ Jack  Mezirow
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133