Page 130 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 130
124
แยกออกจากกันได้นี้ นับเป็นพื้นฐานส าคัญของมุมมองด้านสังคมและนิเวศวิทยา แนวคิดนี้เป็นเป้าหมายทั้งใน
ระดับชาติ ภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับชุมชน ที่ต่างต้องเห็นความส าคัญที่จะรักษาไว้ซึ่งชุมชน สิ่งแวดล้อม
รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ งานสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนจึงมีบทบาทส าคัญทางวิชาการและ
วิชาชีพที่ควรเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้มีคุณค่ามากขึ้น โดยประยุกต์และพัฒนาวิทยาการ
อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงสาธารณะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น
จากความส าคัญดังกล่าว สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและออกแบบชุมชนเมือง จึงมีหลักการและ
วัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตสถาปนิกด้านการออกแบบชุมชนเมืองที่มีความรู้ความสามารถในด้านการ
ออกแบบอาคารแนวราบและผังชุมชนเมือง ตลอดจนปรับปรุงพัฒนาชุมชนเดิมให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อให้ผล
การปฏิบัติมีส่วนสร้างสรรค์ชุมชนให้เข้มแข็ง สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ของ
หลักสูตร ดังนี้คือ
1. เพื่อผลิตสถาปนิกผังเมืองที่มีความรู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าทันต่อวิทยาการ
และมีทักษะเฉพาะด้านสถาปัตยกรรมผังเมือง
2. เพื่อผลิตสถาปนิกผังเมืองที่มีความสามารถปฏิบัติงานโดยมีพื้นฐานทางด้านปฏิบัติ การพัฒนา
ออกแบบและวิจัย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองที่มีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับสภาพสังคม
เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และความต้องการของตลาดแรงงาน
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต
5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่ได้รับประสบการณ์จริงจากสถานประกอบการในวิชาสหกิจศึกษา
ในการวางแผนหลักสูตรนั้น ได้ค านึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ที่ต้องมี
ความเกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง โดยให้มีการพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มี
ศักยภาพ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของยุคสมัย และให้มีความเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแนวทางการด าเนินชีวิตและ
ค่านิยมในสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยมีปรัชญาของหลักสูตรว่า “สร้างสถาปนิกผังเมืองนักปฏิบัติการ ผู้
สร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ บนฐานองค์ความรู้และเทคโนโลยี ที่มุ่งพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
สังคมและวัฒนธรรม ด้วยคุณธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ” จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง
สร้างสถาปนิกนักออกแบบชุมชนเมืองที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่เพียบพร้อม สามารถช่วยชี้น าและ
ขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทยในปัจจุบัน
และอนาคต
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง ได้
ตระหนักถึงการเสริมสร้างเรียนรู้ที่แท้จริงแก่นักศึกษา ด้วยหลักการของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
(Transformative Learning) จึงใช้แนวคิดดังกล่าวสอดแทรกในการจัดกิจกรรมเสริม เช่น โครงการเสวนา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “ประสบการณ์การเรียนรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง” โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและ
เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ล้วนเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
นักศึกษาทุกชั้นปี ให้มีความผูกพันและช่วยเหลือกันในด้านการเรียน การท างาน ซึ่งการที่นักศึกษาได้มีโอกาส
พบปะ เสวนา พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ตรงจะ
สามารถถ่ายทอดเทคนิควิธีและทักษะด้านการเรียนรู้ เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถ
เฉพาะตัวที่มีอยู่อย่างเต็มที่ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ช่วยสร้างเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จาก
สถานการณ์จริง ภายใต้บรรยากาศการพูดคุย เสวนา นอกเหนือจากเนื้อหาวิชา จึงเป็นที่มาของการสร้างความ