Page 131 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 131
125
เข้มแข็งการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง นับเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการความรู้ด้าน “การเรียนการสอนเพื่อ
พัฒนาบัณฑิต (CoP1)” จากองค์กร 7 ชุมชนนักปฏิบัติ ซึ่งนักศึกษาในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง สามารถน ามาปรับใช้ในการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและ
มีผลการเรียนที่ดีมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อไป ดังรายละเอียดที่จะ
กล่าวต่อไป
วิธีการด าเนินงาน
เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นการเรียนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติที่มีอยู่ยังเป็นแบบ
ดั้งเดิมตามพื้นฐานที่ถือปฏิบัติกันมา ในฐานะผู้สอนได้เล็งเห็นปัญหาของนักศึกษาที่ขาดแรงจูงใจในการเรียน
โดยสังเกตจากพฤติกรรมและการพูดคุย พบว่า นักศึกษาไม่มีแนวทางในการเรียนรู้ที่ดี ไม่ทราบข้อมูล ไม่มี
แบบอย่าง และไม่มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ จึงไม่อาจจะสร้างความพึงใจและประโยชน์ต่อตนเองในการ
เรียนรู้ ทั้งด้านผลการเรียนและการน าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาถึงผลการ
เรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นต่อผู้เรียน อาจจะกล่าวได้ว่า หากไม่สามารถบรรลุผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็เป็นปัญหา
ของการจัดการเรียนการสอน และเป็นวิกฤตของระบบการศึกษา ดังนั้น ในฐานะผู้สอนและผู้รับผิดชอบ
หลักสูตร จึงเห็นควรมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักการส าคัญของการแก้วิกฤตของระบบการศึกษา
จ าเป็นต้องเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความเข้มแข็งในการเรียนรู้ มากกว่าจะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา เนื่องจาก
ปัจจุบันมีรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ที่มากกว่าการเรียนในชั้นเรียนอย่างมากมายและหลากหลาย หากมีทักษะ
การเรียนรู้ที่ดีแล้ว ก็สามารถสร้างโอกาสและพัฒนาการเรียนรู้ได้เอง จึงนับว่าเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM tools) เข้ามามีส่วนใน
การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แก่นักศึกษา เพื่อให้การด าเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและ
เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งยึดหลักการเห็นคุณค่า
ความรู้ความช านาญที่มีอยู่ในตัวคนแต่ละคน แล้วน ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือปฏิบัติร่วมกัน เกิดความร่วมมือ
ในลักษณะชุมชนการเรียนรู้ เป็นรูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative learning) กล่าวคือ
เป็นการเรียนรู้ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ทั้งโลกทัศน์ วิธีคิด จิตส านึก ทักษะ และการ
สร้างสัมพันธภาพใหม่ โดยมีแนวปฏิบัติที่ดี ตามหลักของกระบวนการ PDCA (Deming Cycle) ประกอบด้วย
4 ขั้นตอน ดังนี้
กิจกรรม แนวปฏิบัติที่ดี
การวางแผน (Plan)
การสร้างความเข้มแข็งในการเรียนรู้ มีรายละเอียดในการ 1. อาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักศึกษาน า
วางแผนงาน ดังนี้ ประสบการณ์การเรียนรู้ มาไตร่ตรอง
1. การประชุมสนทนาระหว่างอาจารย์ผู้สอน และ นักศึกษา มี สะท้อนความคิดและตั้งค าถามร่วมกัน เพื่อ
ประเด็นดังนี้ น าไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการ
1.1 ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการจัดการเรียนการ
สอนแบบเดิมที่ผ่านมา และปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.2 แนวทางที่จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของ 2. นักศึกษาร่วมกันวางแผนและออกแบบ
นักศึกษา และเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการ การจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้
2. การก าหนดรูปแบบและหัวข้อกิจกรรม โดยรวบรวมจาก ร่วมกัน ภายใต้พื้นฐานและความสนใจที่
ใกล้เคียงกัน เป็นเกณฑ์พิจารณาในการจัด