Page 129 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 129
123
ผู้เขียนหนังสือ Transformative Learning in Practice : Insight from Community, Workplace, and
Higher Education ให้นิยามต่อค า Transformative Learning ว่า “กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสะท้อน
ความคิดอย่างจริงจัง (Critical Reflection) ที่น าไปสู่การให้ความหมายใหม่ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น แยกความ
แตกต่างได้ชัดเจนขึ้น และบูรณาการความเข้าใจจากประสบการณ์ของตนอย่างแท้จริง การเรียนรู้นี้รวมทั้งการ
น าเอาความเข้าใจดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติด้วย” (วิจารณ์ พานิช, 2555: 4-5)
การเรียนรู้ลักษณะนี้เป็นการสร้างขึ้นภายในตนเอง เป็น ‘ศักยภาพที่ซ่อนเร้น’ ของมนุษย์ ที่เป็นเรื่อง
ธรรมดาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (วิจารณ์ พานิช, 2555: 266) ทั้งโดยลงมือกระท าและคิดแบบเดี่ยวหรือแบบ
กลุ่ม ด้วยวิธีการ 3 ขั้นตอน คือ
1. ตั้งเป้าหมายว่าจะเรียนรู้อะไร (Goal Setting)
2. ลงมือปฏิบัติกิจกรรมหรืองาน เพื่อบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมหรืองาน
3. น าประสบการณ์การปฏิบัติกิจกรรมหรืองาน มาไตร่ตรองสะท้อนความคิด (Reflection)
แม้ว่าหลักการส าคัญของการเรียนรู้นี้ เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนมากกว่าขึ้นอยู่กับผู้สอน แต่ยังต้องอาศัยการ
จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ท าให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน สู่
พฤติกรรมภายนอก และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ตามมา สิ่งที่ผู้สอนท าได้ก็คือ หาทางท าให้ผู้เรียนได้
บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ให้เกิดการเติบโต โดยการท าหน้าที่ อ านวยการ (Facilitator) จัดกิจกรรมที่เหมาะสม
ที่จะช่วยเอื้อต่อการใคร่ครวญสะท้อนความคิดของผู้เรียน อันเป็นลักษณะการเรียนรู้ด้านจิตใจ (Affective)
ไม่ใช่ด้านเหตุผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในแต่ละปัจจัย ก่อให้เกิดการปฏิบัติร่วมกันภายใต้บรรยากาศที่
เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่ผู้เรียน ด้วยปัจจัยและวิธีการที่หลากหลายของการเรียนรู้ที่น าไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงทั้งในตนเอง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของหมู่คณะ ชุมชน และสังคม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนสายงานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง รวมถึงสายงาน
อื่นที่เกี่ยวเนื่องในระดับปริญญาตรี เพื่อผลิตสถาปนิก สาขาสถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายใน
สถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม และนักออกแบบในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยัง
ส่งเสริมและท าหน้าที่วิจัย วิเคราะห์ เผยแพร่และพัฒนาวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่เป็น
สาขาวิชาที่ส าคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชนและสังคม ให้สามารถพัฒนาได้ทันกับความเจริญ
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง เป็น
สาขาวิชาหนึ่งที่เปิดสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันของเมือง
ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน รูปแบบของเมือง รูปแบบการวางอาคาร กลุ่มอาคาร โอกาส
การขยายตัวและการพัฒนาของเขตที่อยู่อาศัยและเขตพาณิชยกรรม ถนนและโครงข่ายถนน ทางสัญจรภายใน
ชุมชนและเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ส าคัญภายในชุมชน พื้นที่สาธารณะ ที่ตั้งของสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ พื้นที่โล่งและพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ซึ่งองค์ความรู้นี้จะถูกน าไปก าหนดเป็นแผนแม่บทการ
ออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งสามารถน าไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
สภาพแวดล้อม
ในสังคมเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพมีส่วนส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การที่คนกับสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวพันกันจนไม่สามารถ