Page 228 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 228
222
ผู้อ านวยการกอง หัวหน้าสาขา ประธานหลักสูตร ล้วนแล้วแต่ให้การสนับสนุนบนพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน
ในกิจกรรมการจัดการความรู้ 3. บุคลากรที่มีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ที่เมื่อกิจกรรมเริ่มต้น
สรุป
การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความรู้แบบบูรณาการสู่นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอน มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบ PBL, PLC, STEM, CIPPA Model, และ Project
Method และเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสู่นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับบริบท
ของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ล าปาง โดยการศึกษาเริ่มต้นจากปีการศึกษา
2557 จากการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนแบบใหม่ในรูปแบบที่
หลากหลาย โดยคณะวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ได้รูปแบบการสร้างสรรค์การเรียนรู้จากชุมชน 4 รูปแบบคือ
รูปแบบที่เน้นให้นักศึกษา รูปแบบเน้นการเรียนรู้ รูปแบบเน้นความส าเร็จ และ รูปแบบที่เน้นการใช้
กระบวนการ รูปแบบเหล่านี้ได้ถูกน าไปใช้ในห้องเรียนจริง และในปีการศึกษา 2558 สมาชิกจ านวน 22 รายที่
เคยผ่านการพัฒนาโดยรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเข้าสู่กิจกรรมการจัดการความรู้ขององค์กร
ภายใต้หัวข้อ นวัตกรรมการเรียนการสอน โดยมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ผ่านรูปแบบการเรียน
การสอนที่หลากหลายภายในห้องสนทนาเดียวกันทางสังคมออนไลน์คือ เฟสบุ๊ค (Facebook) ภายใต้ชื่อการ
เรียนการสอนแบบ Professional Learning Community (PLC) และผ่านกิจกรรมการจัดการความรู้ใน
องค์กรประจ าปีการศึกษา 2558 จึงมีการระดมสมองและบูรณาการระหว่างศาสตร์ที่หลากหลายโดยสมัครใจ
เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นรูปแบบเฉพาะและ
เหมาะสมกับบริบทของมทร.ล้านนา ล าปาง คือ CIMP ซึ่งเป็นอักษรย่อที่มาจาก (C) Coaching คือ การสอน
แบบเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักศึกษา มีความใกล้ชิดและเข้าถึง (I) Innovation คือ การสอนแบบเน้นการคิดให้เกิด
นวัตกรรม มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายจากนวัตกรรมสู่นวัตกรรมใหม่ในห้องเรียน (M) Multiple คือ ความ
หลากหลายด้านศาสตร์ การบูรณาการกันระหว่างศาสตร์ในหนึ่งวิชา อาทิ การเรียนการสอนของคณะ
วิศวกรรมสามารถเติมเต็มได้ด้วยเรื่องต้นทุนทางบัญชีการเงินของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์สาขาบัญชี
(P) Practicing คือ การเน้นการฝึกฝน ปฏิบัติจริง ร่วมด้วยช่วยกันจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นไป
ในแบบทุกคนมีส่วนร่วม เหล่านี้คือสิ่งที่ได้จากการจัดการความรู้ และน ามาสู่การใช้ในปัจจุบัน จากกลุ่มเล็ก 22
ราย โดยมีกิจกรรมการแบ่งปันการสอนแบบ CIMP ผ่านสังคมออนไลน์โดยการจัดตั้งกลุ่มผ่านเฟสบุ๊ค CIMP
(RMUTLL PLC) ซึ่งเป็นการพัฒนาจาก PLC สู่ CIMP ในปัจจุบัน เพื่อการผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 และ
การเกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มาจากอัตลักษณ์และความเชี่ยวชาญของผู้สอน เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียน
อย่างสมบูรณ์ น ามาสู่รางวัลที่เกิดจากกิจกรรม อาทิ 1.รางวัลชนะเลิศโครงการกระทิงแดง U-Project ในการ
ผลิตสื่อเพื่อเด็กพิการทางสายตาจากนักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 2. งานวิจัยเชิงบูรณาการ
ศาสตร์ของนักศึกษา การจัดการเส้นทางการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบนบนมือถือ Android เป็นต้น