Page 303 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 303
297
length,) survival rate and FCR.of saebass (Lates calcarifer) were reared in experiment pond
compared with control pond were not significant different(p>0.05).And water quality not
different.
Key words: Green Mussel (Perna viridis), Saebass (Lates calcarifer), integrated rearing
บทน า
หอยแมลงภู่(Perna viridis) เป็นสัตว์น้ าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคกันอย่าง
แพร่หลาย ทั้งประกอบเป็นอาหารรับประทานหรือการถนอมอาหารในรูปแบบต่าง ๆ นับเป็นอาหารทะเลที่มี
รสชาติและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถเลี้ยงง่ายเติบโตเร็ว ไม่จ าเป็นต้องให้อาหารเหมือนการเลี้ยง
ปลา แม้ว่าการเลี้ยงหอยแมลงภู่ ได้ขยายขอบเขตออกไปในพื้นที่ที่เหมาะสมมากขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้ยังไม่
เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาส่งเสริมให้มีการเลี้ยงในรูปแบบต่าง ๆ มาก
ขึ้น
ปัจจุบันการเลี้ยงหอยแมลงภู่นิยมเลี้ยงกันบริเวณแหล่งน้ ากร่อยตามล าคลองหรือในทะเล ปัญหา
และอุปสรรคในการเลี้ยงที่เกี่ยวกับศัตรูได้แก่ ดาวทะเล เม้นทะเลฯลฯ ส่วนโรคพยาธิมีน้อย ปัญหาที่เป็นปัญหา
หลักส าหรับเกษตรกรที่เลี้ยงหอยบริเวณแหล่งน้ ากร่อยคือ ปัญหาการตายของหอยแมลงภู่เนื่องจากน้ ามีความ
เค็มต่ า เกษตรกรต้องประสบปัญหาการขาดทุน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก เนื่องจากใน
ธรรมชาติไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ าได้ รูปแบบการเลี้ยงหอยแมลงภู่ที่สามารถควบคุมคุณภาพน้ าได้ดีคือ
การเลี้ยงหอยแมลงภู่ในบ่อดินร่วมกับการเลี้ยงปลากะพงขาว ซึ่งหอยแมลงภู่จะใช้ประโยชน์จากแพลงก์ตอน
พืชที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นอาหาร และยังช่วยลดการบลูมของแพลงก์ตอนพืชที่เกิดขึ้นในบ่อดิน
และได้น าผลการวิจัยครั้งนี้ไปบูรณาการกับการเรียนการสอน การบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อประโยชน์ต่อ
การเรียนการสอนและเกษตรกรต่อไป
วิธีการด าเนินงาน
1 การเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดิน
การเตรียมบ่อและการปล่อยปลา
บ่อดินที่ท าการเลี้ยงปลากะพงขาวมี 2 บ่อ บ่อที่ 1 มีเนื้อที่ 1.31ไร่ ใช้ส าหรับการทดลองเลี้ยง
หอยแมลงภู่ร่วมกับปลากะพงขาว และบ่อที่ 2 มีขนาดเนื้อที่ 0.78 ไร่ ท าความสะอาดบ่อ โดยก าจัดศัตรูของ
ปลากะพงขาว พร้อมกับหว่านปูนขาวใช้ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วตากบ่อให้แห้งเป็นระยะเวลานาน 7
วัน หลังจากนั้นเติมน้ าเค็ม 25 ppt. ให้สูงประมาณ 1.5 เมตร ท าการสุ่มปลากะพงขาวมาชั่งวัดจ านวน 100
ตัว ซึ่งมีความยาวเฉลี่ยเริ่มต้นเท่ากับ 10.78 เซนติเมตร และน้ าหนักเฉลี่ยเริ่มต้นเท่ากับ 13.30 กรัม โดยปล่อย
ลงเลี้ยง บ่อที่ 1 ปล่อยปลาในอัตรา 1.50 ตัวต่อตารางเมตร จ านวน 3,144 ตัว บ่อที่ 2 ปล่อยปลา 1.50 ตัว
ต่อตารางเมตร เป็นจ านวน 1,872 ตัว
อาหารและการให้อาหาร
อาหารที่ให้เป็นปลาสดสับโดยให้วันละ 2 มื้อ เช้าและเย็น ก าหนดอัตราอาหารที่ให้ 5 เปอร์เซ็นต์
ของน้ าหนักตัว แล้วค่อยๆลดลงหรือเพิ่มตามความต้องการของปลา โดยให้จนปลาอิ่ม
การเปลี่ยนถ่ายน้ า