Page 307 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 307

301



















                        การบูรณาการกับการเรียนการสอน             การบูรณาการกับการบริการวิชาการและสังคม


               อภิปรายผล
               1 การเจริญเติบโตและอัตรารอดของหอยแมลงภู่

                          จากการทดลองเลี้ยงหอยแมลงภู่ที่ระดับความลึกต่างกันในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว เป็นระยะเวลา  4
               เดือน  พบว่าการเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่โดยรวม จะมีการเจริญเติบโตทั้งในด้านน้ าหนักเฉลี่ย ความยาว
               เฉลี่ย เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการเลี้ยง  การเจริญเติบโตมีความแตกต่างกันในทุกระดับความลึก(p<0.01)
               โดยที่ระดับความลึกที่หอยแมลงภู่มีการเจริญเติบโตดีที่สุดคือที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตร รองลงมา 60, 80

               และ 20 เซนติเมตร ตามล าดับ เนื่องจากที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตรเป็นระดับที่แสงส่องลงไปไม่มากนัก
               อุณหภูมิของน้ าไม่สูงจนเกินไป เป็นระดับที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของแพลงก์ตอนพืช ซึ่งแพลงก์ตอนพืช
               บางชนิดจะเคลื่อนที่ตามความเหมาะสมของอุณหภูมิและความเข้มของแสง (ลัดดา,2540) ในความลึกระดับนี้
               จึงมีแพลงก์ตอนล่องลอยอยู่มาก และนอกจากนี้ระดับความลึกนี้ได้รับผลกระทบจากแอมโมเนียที่อยู่พื้นก้นบ่อ

               น้อยกว่าระดับ 60 และ 80 เซนติเมตร จึงส่งผลให้การเจริญเติบโตดีกว่าระดับอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการ
               เลี้ยงในทะเลพบว่าหอยแมลงภู่มีการเจริญเติบโตสูงกว่าการเลี้ยงในทะเล(ชุดควบคุม)เล็กน้อย เนื่องจากในบ่อ
               เลี้ยงปลากะพงขาว มีธาตุอาหารที่เกิดจากสิ่งขับถ่ายของปลาและอาหารที่เหลือจากการกินของปลาท าให้เกิด
               แอมโมเนีย แพลงก์ตอนที่เป็นตัวชี้วัดถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณของแอมโมเนียเป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่ม

               Cyanophyta และ Chromophyta (Thompsom et al.2002) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักต่อการเจริญเติบโต
               ของแพลงก์ตอนพืช (Smith et  al.,  2008)    ท าให้เกิดแพลงก็ตอนพืชในปริมาณมาก ซึ่งจากการแยกชนิด
               แพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวทั้ง 2 บ่อพบแพลงก์ตอนพืช 3 ดิวิชัน 17 สกุล ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน

               ของ จริยาวดีและคณะ(2547) ได้ศึกษาแพลงก์ตอนพืชในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาด า พบ 3 ดิวิชัน 44 สกุล ซึ่งพบน้อย
               กว่า 27 สกุล และคุณภาพน้ าในการทดลองครั้งนี้อยู่ในระดับที่เหมาะสม(ยนต์,2536) ยกเว้นค่าแอมโมเนียอยู่
               ในช่วงที่ไม่เหมาะสมต่อสัตว์น้ า ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ าค่าแอมโมเนียไม่ควรเกิน0.025 ppm. (มั่นสิน และไพพรรณ,
               2539)

                          จากการศึกษาอัตราการรอดตายของหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวตลอดการทดลอง
               พบว่ามีอัตราการรอดตายแตกต่างกัน(p<0.05) ที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตร  จะมีอัตราการรอดตายสูงกว่า
               ระดับความลึกอื่นๆ เนื่องจากในระดับนี้เหมาะสมกว่าระดับอื่นทั้งอุณหภูมิและความเข้มของแสงและ
               แอมโมเนียที่ได้รับ เมื่อเปรียบเทียบกับหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงในทะเลพบว่า การเลี้ยงในทะเลมีอัตรารอดมากกว่า

               เนื่องจากในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวมีความลึกน้อยท าให้ตะกอนดินขึ้นมาเกาะเปลือกหอยและอุดตันอวัยวะ
               หายใจหอยแมลงภู่ และ คุณภาพน้ าโดยรวมด้อยกว่าในทะเลมาก ท าให้ในทะเลมีอัตราการรอดตายที่สูงกว่า
   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312