Page 308 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 308

302


               2 การเจริญเติบโต,อัตราการรอดตาย และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลากะพงขาว
                           ปลากะพงขาวที่เลี้ยงร่วมกับหอยแมลงภู่และปลากะพงขาว(ชุดควบคุม) พบว่าการเจริญเติบโตไม่มี

               ความแตกต่างกันมาก ทั้งความยาวและน้ าหนัก เนื่องจากอัตราการปล่อยเท่ากัน การจัดการเลี้ยงไม่ต่างกัน
               แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะเลี้ยงร่วมกับหอยแมลงภู่ก็ตาม ก็ไม่ท าให้การเจริญเติบโตลดลง อัตราการรอดเมื่อเลี้ยง
               เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าบ่อที่เลี้ยงร่วมกับหอยแมลงภู่มีอัตราการรอดตายเท่ากับ   71.09  เปอร์เซ็นต์
               บ่อควบคุมมีอัตราการรอดตายเท่ากับ  74.03   เปอร์เซ็นต์  เมื่อดูจากตัวเลขจะเห็นได้ว่าอัตราการรอดตาย

               ใกล้เคียงกัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ พบว่าบ่อที่เลี้ยงร่วมกับหอยแมลงภู่มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็น
               เนื้อเท่ากับ 7.05:1 บ่อปลากะพงขาว(บ่อควบคุม)มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ  6.84:1 เมื่อดูจาก
               ตัวเลขจะเห็นได้ว่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ
               ของการเลี้ยงปลากะพงขาวที่เลี้ยงด้วยการให้ปลาสดเป็นอาหารอยู่ในช่วง 7-10:1 (กรมประมง, 2536 )


               3. น าผลจากการวิจัยไปถ่ายทอดสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                            การทดลองการเลี้ยงหอยแมลงภู่ร่วมกับการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดินได้น าไปใช้ในการบูรณาการ
               กับบริการวิชาการกับสังคม ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ในโครงการบริการวิชาการเพื่อ
               สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนบ่อหิน ปีงบประมาณ 2559 กิจกรรมย่อยที่ 4 การส่งเสริมอาชีพการ

               เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ซึ่งจากงานวิจัยเรื่องนี้ได้น าไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงปลาในกระชังบ้านปากคลอง
               ได้ใช้พื้นที่ระหว่างทางเดินใต้กระชังให้เป็นประโยชน์น ามาเลี้ยงหอยนางรมแบบแขวน ในระดับความลึก 40
               เซนติเมตร โดยที่ไม่ต้องให้อาหารใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากหอยแมลงภู่จะกรองกินแพลงก์ตอนพืชที่อยู่ในน้ าทะเล
               เป็นอาหาร และที่ตั้งกระชังอยู่บริเวณปากคลอง มีป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นก าเนิดของธาตุอาหารใน

               ปริมาณมาก เหมาะสมส าหรับการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืขที่เป็นอาหารของหอยแมลงภู่ จึงมีผลให้
               หอยแมลงภู่ที่น าไปส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วรวดเร็ว ไม่มีปํญหาด้านศัตรูและ
               โรคพยาธิซึ่งท าให้เกิดอาชีพเสริมและช่วยลดความเสี่ยงของการเลี้ยงปลาในกระชังได้เป็นอย่างดี

               4.การบูรณาการกับการเรียนการสอน
                         การทดลองการเลี้ยงหอยแมลงภู่ร่วมกับการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดินได้น าไปใช้ในการบูรณาการ
               การเรียนการสอนกับรายวิชาในหลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ในรายวิชา ปัญหาพิเศษทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า
               โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4  ได้ท าโครงการปัญหาพิเศษเกี่ยวกับ ระดับความลึกที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง

               หอยแมลงภู่แบบแขวนในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว และโครงการปัญหาพิเศษเรื่องชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่พบ
               ในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว ท าให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะในการเลี้ยงหอยแมลงภู่ และทราบชนิดของ
               แพลงก์ตอนที่พบในบ่อดินที่เลี้ยงปลากะพงขาว นอกจากนี้งานวิจัยเรื่องนี้ยังได้น าไปบูรณาการกับรายวิชา
               ปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าชายฝั่ง โดยให้นักศึกษาหลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าชั้นปีที่3 ได้เข้าไปใช้

               ประโยชน์จากงานวิจัย ในการศึกษาบทปฏิบัติการการเลี้ยงสัตว์น้ าแบบผสมผสาน โดยการเลี้ยงหอยแมลงภู่กับ
               ปลากะพงขาวในบ่อดิน ซึ่งท าให้นักศึกษาได้รับทักษะหลายด้าน ทั้งด้านความรู้ และด้านคุณธรรม จริยธรรม
               เป็นการฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มีมนุษยสัมพันธ์ การท างานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้น า
               ฯลฯ


               สรุป
                           1.การเจริญเติบโต และอัตราการรอดตาย ของหอยแมลงภู่ที่ทดลองเลี้ยงในระดับความลึกต่างกันใน

               บ่อเลี้ยงปลากะพงขาว พบว่าที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตร ดีที่สุด
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313