Page 306 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 306
300
2. การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลากะพงขาว
ท าการสุ่มมาชั่งวัดเป็นจ านวน 100 ตัว ซึ่งมีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 10.78 เซนติเมตร และน้ าหนัก
เฉลี่ยเท่ากับ 13.30 กรัม ปล่อยลงเลี้ยงทั้ง 2 บ่อ บ่อเลี้ยงร่วมกับหอยแมลงภู่ เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 7 เดือนมี
น้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 457.500 ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 30.050 เซนติเมตร
บ่อเลี้ยงปลากะพงขาว(บ่อควบคุม) เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 7 เดือนมีน้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 469.500
ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 30.800 เซนติเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองทั้งสองบ่อไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
ปลากะพงขาวที่ทดลองเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1.31ไร่ที่เลี้ยงร่วมกับหอยแมลงภู่ อัตรารอดตายเท่ากับ
71.09 เปอร์เซ็นต์ อัตรารอดตายปลากะพงขาวที่เลี้ยงในบ่อดินขนาด 0.78 ไร่เป็นบ่อควบคุม มีอัตราการรอด
ตายเท่ากับ 74.03 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองทั้งสองบ่อไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารปลากะพงขาวที่เลี้ยงในบ่อขนาด1.31ไร่เท่ากับ 7.05:1 ปลากะพงขาวที่
เลี้ยงในบ่อขนาด 0.78 ไร่ มีค่าเท่ากับ 6.84:1
3. การแยกชนิดของแพลงก์ตอน
การแยกชนิดของแพลงก็ตอนพืชที่ตรวจพบในบ่อปลาทั้ง 2 บ่อที่ส าคัญคือแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 3
ดิวิชัน 17 สกุลได้แก่ ดิวิชัน Cyanophyta 7 สกุล ได้แก่ Chroococus sp, Merismopedia sp.,
Microcystis sp., Spilulina sp., Oscillatoria sp., Lyngbya sp.และ Anabaena sp. ดิวิชัน
Chlorophyta ที่พบมี 6 สกุลคือ Chlorella sp., Coelastrum sp., Scenedesmus sp., Radiococcus
sp., Staurastrum sp.และ Euglena sp. ดิวิชั่น Chromophyta ที่พบ 4 สกุลคือ Coscinodiscus sp.,
Bacteriastrum sp., Nitzschia spและDinoflagellate sp.
4. น าผลจากการวิจัยไปถ่ายทอดสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ได้น าไปใช้ในการบูรณาการกับบริการวิชาการกับสังคม ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ
ประมง ในโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนบ่อหิน ปีงบประมาณ 2559 ซึ่ง
จากงานวิจัยเรื่องนี้ได้น าไปเผยแพร่ให้กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงปลาในกระชังบ้านปากคลองโดยวิธีการอบรมเชิง
ปฏิบัติการดดยให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฎิบัติจริง หลังจากนั้นได้ติดตามการน าไปใช้ประโยชน์ โดยทางกลุ่มได้น า
ความรู้ดังกล่าวไปท าเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแขวนบริเวณพื้นที่ระหว่างทางเดินใต้กระชังให้เป็น
ประโยชน์ในระดับความลึก 40 เซนติเมตร ซึ่งหอยมีการเจริญเติบโตดีมากเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีอาหาร
ธรรมชาติของหอยแมลงภู่ในปริมาณมาก
5. การบูรณาการกับการเรียนการสอน
ได้น าไปใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนกับรายวิชาในหลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า วิชา ปัญหา
พิเศษทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ได้ท าปัญหาพิเศษ 2 เรื่อง และวิชาปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าชายฝั่ง ได้
ศึกษาในบทปฏิบัติการการเลี้ยงสัตว์น้ าแบบผสมผสาน ซึ่งท าให้นักศึกษาได้ความรู้และฝึกฝนทักษะด้าน
คุณธรรมและจริยธรรมอีกด้วย
นอกจากนี้ได้น านักศึกษาไปฝึกปฏิบัติจริงในฟาร์มเลี้ยงปลาในกระชังที่ได้น าองค์ความรู้จากงานวิจัย
ไปเผยแพร่น ามาบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าชายฝั่งปีการศึกษา
2/2558 อีกด้วย