Page 304 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 304
298
ท าการเปลี่ยนถ่ายน้ าสองสัปดาห์ต่อครั้งในสองเดือนแรก และหลังจากนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ าดูจาก
สภาพของน้ าโดยดูจากค่าคุณภาพน้ าที่วัดทุกสัปดาห์ หากคุณภาพน้ าไม่เหมาะสม ท าการเปลี่ยนถ่ายน้ าออก
ประมาณ 1/3 ของปริมาณน้ า ทั้งหมดในบ่อปลากะพงขาว
2 การเลี้ยงหอยแมลงภู่
การเตรียมแพเลี้ยงหอยแมลงภู่ในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว(บ่อ 1.31ไร่)และในทะเล(ชุดควบคุม)
ท าการสร้างแพให้มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตรในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว และบริเวณปากคลอง
สิเกาเพื่อใช้เป็นชุดควบคุม ใช้ไม้เนื้อแข็งพาดขวางแพ 8 แถว ใช้ส าหรับแขวนพวงหอยแมลงภู่
การเตรียมการเลี้ยงหอยแมลงภู่และการดูแลรักษา
การเตรียมถุงอวนใส่หอย น าอวนขนาดตานิ้วมาตัดและเย็บเป็นรูปถุงทรงกระบอก จ านวน 80 ถุง
การเตรียมพันธุ์หอยแมลงภู่ ท าการชั่งน้ าหนัก วัดความยาว และน าลูกหอยแมลงภู่ที่มีขนาดใกล้เคียงกันเลี้ยง
ในถุงอวน น าถุงอวนใส่หอยแมลงภู่ถุงละ 500 ตัว เท่าๆกัน แขวนในระดับความลึก 20, 40, 60 และ 80
เซนติเมตร ระดับละ 10 ซ้ า โดยเริ่มทดลองหลังจากเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดินไปได้ 2 เดือน พร้อมกับแพ
กระชังในทะเล บริเวณปากคลองสิเกาเป็นการทดลองชุดควบคุม การดูแลรักษารักษา ดูแลไม่ให้ตะกอนเข้ามา
เกาะติดพวงหอยแมลงภู่ โดยการเขย่าถุงอวนหรือใช้แปรงขัดพวงหอย ท าความสะอาดทุกๆ 1 สัปดาห์
3. การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 เลี้ยงในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว แบ่งเป็น
4 ชุดการทดลอง คือแขวนหอยแมลงภู่ที่ระดับความลึก 20, 40, 60, 80 เซนติเมตร ตามล าดับ แต่ละชุดการ
ทดลองมี 10 ซ้ า การทดลองที่ 2 เลี้ยงในทะเลบริเวณปากคลองสิเกา(ชุดควบคุม)
-หอยแมลงภู่ ท าการศึกษาการเจริญเติบโต ท าการวัดความยาว และน้ าหนักของหอยแมลงภู่จากถุง
อวนที่ก าหนดไว้เป็นตัวอย่างจ านวน 40 ถุงต่อการทดลอง ท าการชั่งวัดทุก ๆ 2 สัปดาห์ โดยสุ่มเก็บตัวอย่าง
หอยถุงละ 15 ตัว บันทึกผล การศึกษาอัตราการรอดตาย ท าการนับจ านวนหอยแมลงภู่ที่เหลือรอดเมื่อสิ้นสุด
การทดลอง รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เมื่อสิ้นสุดการทดลอง การศึกษาคุณสมบัติของน้ าที่ส าคัญบางประการ
ในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวโดยเก็บข้อมูลทุกๆ 2 สัปดาห์และในทะเลบริเวณปากคลองสิเกา ดังนี้ อุณหภูมิ ความ
เค็ม ความเป็นกรด-ด่าง แอมโมเนีย และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ า
-ปลากะพงขาว การศึกษาการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลากะพงขาวที่เลี้ยงในบ่อดิน
ท าการตรวจวัดการเจริญเติบโตของปลากะพงขาวทั้ง 2 บ่อโดยการสุ่มชั่งวัดปลาในบ่อดินทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง
โดยสุ่มชั่งวัดบ่อละ 50 ตัว เป็นระยะเวลา 7 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลองท าการนับจ านวนปลาทั้งหมด เพื่อหา
อัตราการรอดของปลากะพงขาว และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ตลอดการทดลอง
-เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอน ในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาว(บ่อควบคุม) และบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวร่วมกับ
หอยแมลงภู่ ทั้ง 2 บ่อ ทุกๆเดือนๆละ 1 ครั้งโดยใช้ถุงลากแพลงก็ตอน น าแพลงก็ตอนที่ลากได้มาดองด้วย
ฟอร์มาลีน 4 เปอร์เซนต์ เติมน้ ากลั่นจนได้ปริมาตร 135 มิลลิลิตร ระบุวันเวลา และสถานที่เก็บตัวอย่าง แล้ว
น ามาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ แยกกลุ่ม ตามวิธีของ ลัดดา(2543, 2544)
น าข้อมูลการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของหอยแมลงภู่ที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์
ความแปรปรวนแบบสุ่มตลอด (CRD; Completely Randomized Design) เปรียบเทียบความแตกต่างของ
ค่าเฉลี่ยตามวิธีของ Duncan’s New Multiple Range test ส่วนข้อมูลการเจริญเติบโตของปลากะพง
ขาวบ่อทดลองเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความยาวและน้ าหนักกับบ่อควบคุมด้วยวิธีT-test (สุรพล 2536)