Page 305 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 305
299
4. น าผลจากการวิจัยไปถ่ายทอดสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
น าผลจากการวิจัยดังกล่าวไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงปลาในกระชังบ้านปากคลอง ต.บ่อหิน
อ.สิเกา จ. ตรัง ในโครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนบ่อหิน ปีงบประมาณ
2559
5. การบูรณาการกับการเรียนการสอน
น าไปใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนกับรายวิชาในหลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า และได้น าการ
บริการวิชาการที่ถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยบูรณาการกับการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2/2558
ผลการด าเนินงาน
1 การเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของหอยแมลงภู่
จากการทดลองเลี้ยงหอยแมลงภู่ที่ระดับความลึกต่างกัน 4 ระดับคือ 20, 40, 60 และ 80
เซนติเมตร ในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นระยะเวลา 4 เดือนพบว่า น้ าหนักของหอยแมลงภู่ที่ระดับความลึก 40
เซ็นติเมตร จะมีน้ าหนักเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือ 60, 80 และ 20 เซนติเมตร ซึ่งมีน้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ
22.02, 21.82, 21.36 และ 21.08 กรัม ตามล าดับ ส่วนการเจริญเติบโตด้านความยาวของหอยแมลงภู่
พบว่า ที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตร จะมีความยาวของเปลือกมากที่สุดรองลงมา คือ 20, 80 และ 60
เซนติเมตร ตามล าดับ ซึ่งมีความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 77.80, 75.90, 75.02 และ 74.02 มิลลิเมตร ตามล าดับ
โดยน้ าหนัก และความยาวของหอยแมลงภู่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง(P<0.01)
การทดลองเลี้ยงหอยแมลงภู่ที่ระดับความลึกต่างกัน 4 ระดับ คือ 20, 40, 60 และ80 เซนติเมตร
และในทะเล ( ชุดควบคุมการทดลอง ) บริเวณคลองสิเกา อ.สิเกา จ.ตรัง เป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า
น้ าหนักของหอยแมลงภู่ที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตร จะมีน้ าหนักเพิ่มมากที่สุดรองลงมาคือ 80, 20 และ
60 เซนติเมตรตามล าดับ ซึ่งจะมีน้ าหนักเฉลี่ย เท่ากับ 18.29, 17.51, 17.49 และ 17.38 กรัมตามล าดับ การ
เจริญเติบโตด้านความยาวของหอยแมลงภู่ พบว่าที่ระดับความลึก 40 เซนติเมตร จะมีความยาวของเปลือก
มากที่สุด รองลงมา คือ 60, 80 และ 20 เซนติเมตรตามล าดับ ซึ่งมีความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 63.98, 61.52,
61.52 และ 61.52 มิลลิเมตร ตามล าดับ โดยน้ าหนักและความยาวของหอยแมลงภู่มีความแตกต่างกันทาง
สถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง(P<0.01)
อัตราการรอดตายของหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงในบ่อเลี้ยงปลากะพงขาวที่ปล่อยลงเลี้ยงในระดับความลึก
ต่างกัน 4 ระดับคือ 20, 40, 60 และ 80 เซนติเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าที่ระดับความลึก 40
เซนติเมตรมีอัตราการรอดตายสูงที่สุด คือ 60.40 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือที่ระดับความลึก 20, 80 และ60
เซนติเมตร ตามล าดับ โดยมีค่าเท่ากับ 51.00, 45.80 และ 45.60 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญยิ่ง (p<0.01)
อัตราการรอดตายของหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงในทะเล(ชุดควบคุมการทดลอง) ที่ปล่อยลงเลี้ยงในระดับ
ความลึกต่างกัน 4 ระดับ คือ 20, 40, 60, และ80 เซนติเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าที่ระดับความลึก
40 เซนติเมตร มีอัตราการรอดตายสูงที่สุดคือ 95.40 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ที่ระดับความลึก 80, 60
และ 20 เซนติเมตร ตามล าดับ โดยมีค่าเท่ากับ 94.20, 94.40 และ 92.60เปอร์เซ็นต์ตามล าดับ เมื่อสิ้นสุด
การทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ