Page 310 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 310
304
การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับการจัดการชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม:
ชุมชนสวนหลวง 1
Linking Knowledge with Community Model Management in Environmental
Conservation: Suangluang 1 Community
สุวิมล พิชญไพบูลย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
E-mail: drsuwimol.s@gmail.com
บทสรุป
การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับการจัดการชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม:ชุมชนสวนหลวง1
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบฐานข้อมูลชุมชนสวนหลวง 1 ส าหรับใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน
ต้นแบบของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาและทดสอบกิจกรรมตามแผนการด าเนินงานพัฒนา
ชุมชนต้นแบบที่มีความสอดคล้องแต่ละรูปแบบภูมิสังคม โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
พัฒนากระบวนการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาชุมชนต้นแบบ กรุงเทพมหานครที่มีความสมดุลและยั่งยืนทั้ง
ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเพื่อสรุปบทเรียนและถอดรูปแบบการพัฒนาชุมชนต้นแบบ
กรุงเทพมหานครเพื่อให้คนอยู่อาศัยร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลยั่งยืน โดยงานวิจัยนี้เป็นลักษณะการวิจัย
ผสม (Mixed Method) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มี
ขั้นตอนการด าเนินการเริ่มจากการศึกษาระบบฐานข้อมูลชุมชนสวนหลวง 1 ทางด้านกายภาพ และด้านการ
บริหารจัดการตลาดชุมชนฯ จากนั้นได้สัมภาษณ์เชิงลึกประธานชุมชนสวนหลวง 1 ประธานตลาดริมคลอง
ชุมชนสวนหลวง 1 เพื่อเตรียมด าเนินกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ การจัดให้มีการอบรมโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ แก่กรรมการชุมชนสวนหลวง 1 เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานของพลังงาน
ทดแทน และการด าเนินการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อน าพลังงานทดแทนมาใช้กับไฟฟ้าภายในชุมชนจ านวน 10 ต้น
จากทั้งหมด 39 ต้น และกิจกรรมอบรมการประดิษฐ์วัสดุธรรมชาติ อาทิ ใบตอง ใบโพธิ์ ใบไผ่ ใบเตย เป็นต้น
แก่กรรมการตลาดชุมชนริมคลองสวนหลวง 1 และแม่ค้า พ่อค้าภายในชุมชนที่ขายอาหารในงานตลาดชุมชนฯ
เพื่อน ามาเป็นภาชนะใส่อาหารในงานตลาดชุมชนฯ ที่จัดขึ้นเป็นประจ าทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน
ทั้งนี้ เมื่อการด าเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ ก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนสวนหลวง 1 ด้วยการขับเคลื่อน
ของชาวชุมชนฯ เอง ทั้งด้านการลดการใช้พลังงานภายในชุมชน และเป็นแบบอย่างน าไปสู่แต่ละครัวเรือน ด้วย
เล็งเห็นว่าการน าพลังงานทดแทนมาใช้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างเห็นได้ชัด และการน าวัสดุธรรมชาติมาใช้
เป็นภาชนะเพื่อให้ย่อยสลายได้ย่อมไม่เป็นมลภาวะต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ค าส าคัญ: องค์ความรู้ การจัดการชุมชนต้นแบบ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนสวนหลวง 1
Summary
Linking Knowledge with Community Model Management in Environmental
Conservation: Suanluang 1 Community aims to learn about detabase system for the
guideline to develop community model of Bangkok effectively. Learn and test the activities
according to the following plan. It has a consistency in each format of social landscape from