Page 315 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 315
309
ใบไผ่ ที่มาท าเป็นภาชนะในการใส่อาหาร (สายสนม ประดิษฐดวง, 2540) ซึ่งเป็นการสร้างความเคยชินแก่ผู้ค้า
และผู้ซื้อ ให้ตระหนักในการใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายแทนพลาสติก และโฟม กิจกรรมเหล่านี้ชุมชน
ร่วมมือร่วมใจคิด สร้างสรรค์ (Communities of Practice – CoP) ให้ความเห็น และร่วมกิจกรรมทั้งสอง
กิจกรรมบนฐานความรู้จากวิทยากรสู่บทเรียนในการอบรม ซึ่งฐานความรู้ดังกล่าวสามารถต่อยอดไปสู่การ
ปฏิบัติโดยชุมชนฯ เอง ให้สามารถด ารงอยู่ได้จากการมีส่วนร่วมดังกล่าว อันไปสู่ความส าเร็จเพื่อเป็นแนว
ปฏิบัติที่ดี หากมีผู้ที่มีต้องการในลักษณะเดียวกันสามารถน าไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน
และวัสดุธรรมชาติโดยสามารถน าไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ต่อไป
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
การเชื่อมโยงองค์ความรู้กับการจัดการชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: ชุมชนสวนหลวง 1 มี
การบูรณาการโดยให้อาจารย์สาขาไฟฟ้า หัวหน้าหน่วยวิจัยพลังงานทดแทน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ
นักศึกษาสาขาไฟฟ้า ร่วมให้การอบรมความรู้ด้านพลังงานทดแทน พื้นฐานระบบไฟฟ้า การติดตั้งแผงโซล่า
เซลล์ซึ่งมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดและประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ และพื้นที่ที่จะใช้ในการติดตั้งให้
เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการใช้ ส าหรับการติดตั้งพลังงานทดแทนภายในชุมชนฯ ต้องมีการแก้ไขวงจรทาง
ไฟฟ้าติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา ทดสอบอินเวอร์เตอร์ และติดตั้งขนาด 500 วัตต์ เป็นแบบออฟกริด คือ ใช้
พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว พร้อมติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานไว้ใน
เวลากลางคืน โดยแบตเตอรี่ที่เลือกใช้เป็นแบบ deep cycle คือ แบตเตอรี่ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถคาย
ประจุ หรือ discharge ได้ลึก หรือได้มากกว่าแบตเตอรี่แบบธรรมดา และเพื่อความปลอดภัยจึงมีการออกแบบ
และติดตั้งเซอร์กิตเบรคเกอร์เพื่อไว้ส าหรับเปิดปิดวงจรหลอดไฟฟ้า ทั้งนี้ได้เชื่อมโยงไฟฟ้าจ านวน 10 ต้น ใน
ขั้นทดลองจากทั้งหมด 39 ต้น มาใช้กับพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ โดยเริ่มใช้งานจากพลังงาน
แสงอาทิตย์เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2559 เวลา 11.00 น. และชาวชุมชนจะเป็นผู้สังเกตการใช้งานของ
ไฟฟ้าที่ติดตั้งดังกล่าว พร้อมทั้งประธานชุมชนสวนหลวง 1 ได้สรุปผลการใช้ไฟฟ้าให้แก่คณะกรรมการชุมชนฯ
ทราบถึงอัตราค่าไฟฟ้าที่ลดลงจากเดิม (ศุภชัย กวินวุฒิกุล, 2551) ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าแต่ละเดือน ก่อนและหลังติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์
ใบเสร็จรับเงินใบก ากับภาษี เดือน / ค่าไฟฟ้า VAT 7% รวมจ านวน
เลขที่ 2559 เงิน
0715904023747 เมษายน 2,409.42 168.66 2,578.08
0715905023312 พฤษภาคม 2,225.73 155.80 2,381.53
0715906025359 มิถุนายน 2,024.06 141.68 2,165.74
0715907018894 กรกฎาคม 2,036.32 142.54 2,178.86
0715908023361 สิงหาคม 2,085.38 145.98 2,231.36
0715909026345 กันยายน 2,052.68 143.69 2,196.37