Page 32 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 32

26


                       4. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความส าเร็จ
                       โครงการบริการวิชาการแก่สังคมเป็นโครงการที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อสถาบัน ในการถ่ายทอดความรู้

               และประสบการณ์จากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสู่ชุมชน เพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน นักศึกษาได้
               เรียนรู้ในการให้บริการวิชาการแก่สังคมสอดคล้องกับภารกิจของคณะฯ ในการให้บริการ ส่งผลต่อการผลิตบัณฑิตที่
               มีคุณภาพ  พัฒนาการเรียนการสอน  อาจารย์มีการพัฒนาความเชี่ยวชาญมากขึ้น  โดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิด
               ความส าเร็จ ดังนี้

                       4.1  มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานชุมชนท้องถิ่น  ในการให้บริการวิชาการที่ตอบสนองความ

               ต้องการของชุมชนและสังคม
                       4.2 มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและมีการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
                       4.3 มีการเสริมสร้างพัฒนาคณาจารย์และนักศึกษาในการดูแลชุมชนและสังคม
                       4.4 มีการบูรณาการการบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและงานวิจัย


               สรุป
                       คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มีการ

               ด าเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชนบ้านปากคลอง ต าบลบ่อหิน อ าเภอ
               สิเกา จังหวัดตรัง โดยหน่วยงานภายนอกที่ให้ความร่วมมือในการด าเนินกิจกรรมบริการวิชาการ นอกจากองค์การ
               บริหารส่วนต าบลบ่อหิน ที่ท าบันทึกความร่วมมือ (MOU) ทางด้านบริการวิชาการแก่สังคมระหว่างคณบดี คณะ
               วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงแล้ว ยังมีกลุ่มเป้าหมาย คือ วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านปากคลอง กลุ่มวิสาหกิจ

               เลี้ยงปลาในกระชังบ้านปากคลอง ส่วนหน่วยงานภายใน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ที่เข้าไปร่วมมือกันบริการ
               วิชาการ นอกจากคณะฯ แล้วยังมี วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว คลินิกเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขต
               ตรัง นอกจากนี้ กลุ่มชุมชนบ้านปากคลองยังได้รับการสนับสนุนความรู้และฝึกทักษะจากหน่วยงานภายนอกอื่นๆ
               เช่น เกษตรกรอ าเภอ การศึกษานอกโรงเรียน พัฒนากรอ าเภอ และธนาคารออมสิน เป็นต้น ดังนั้น กลุ่มวิสาหกิจ

               ชุมชนแม่บ้านปากคลอง จึงเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างหน่วยงานภายนอกอื่นๆ หน่วยงานภายใน มทร.ศรีวิชัย
               วิทยาเขตตรัง และคณะฯ สามารถด าเนินงานจัดท าโครงการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกันในการพัฒนากลุ่ม
               ต่อไปในอนาคต

               บรรณานุกรม

               พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. 2550.  การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สาหรับหน่วยงานภาครัฐ.  วิทยานิพนธ์
                       ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยี
                       การศึกษา.

               สาขาเทคโนโลยีการประมง. 2559. รายงานผลโครงการส ารวจความต้องการและประชาสัมพันธ์. คณะ
                      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย อ.สิเกา จ.ตรัง


               สาขาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง. 2559. รายงานผลโครงการการให้บริการทางด้าน
                       การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารส าหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
                         มทร.ศรีวิชัย อ.สิเกา จ.ตรัง
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37