Page 490 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 490
484
เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คือ วิทยาลัยช่างศิลปะสุพรรณบุรี และวิทยาลัยช่างศิลป
นครศรีธรรมราช เพื่อน าไปใช้ประโยชน์ต่อไปนั้น มีผลการตอบรับที่ดีในการน าไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนรู้
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะน าองค์ความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ในการบูรณาการความรู้ประกอบการเรียนการสอนใน
รายวิชา วาดเส้น 1 และวาดเส้น 2 ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาและผู้สนใจต่อไป
สรุป
การจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เห็นความส าคัญ
ต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติในการสร้างสรรค์
การวาดเส้นซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่ส าคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอนทางด้านศิลปกรรม สืบเนื่องจากการรับ
นักศึกษาเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะฯที่รับจากสถานศึกษาหลายแหล่ง ทั้งจากโรงเรียนระดับ
มัธยมศึกษา และระดับอาชีวศึกษา ซึ่งมีปัญหาและอุปสรรค์ในการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีของคณะฯ
คือ ระดับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในทักษะด้านศิลปะเบื้องต้นของนักศึกษา เช่น การวาดเส้น มีทักษะที่เหลื่อมล้ า
และแตกต่างกัน คณะกรรมการการจัดการความรู้ ด้านการเรียนการสอนของคณะศิลปวิจิตร จึงประชุมสรุป
องค์ความรู้ ชื่อเรื่อง ทักษะการวาดเส้น และคิดว่าการเก็บองค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดการ
เรียนการสอน ซึ่งช่วยให้ปรับพื้นฐานทางศิลปะให้นักศึกษาใหม่มีระดับความรู้และทักษะด้านศิลปะเบื้องต้นที่ดี
ขึ้น โดยก าหนดแนวทางการด าเนินกิจกรรมการเก็บองค์ความรู้ชื่อเรื่อง“ทักษะการวาดเส้น” จ านวน 5 หัวข้อ
คือ 1.การวาดเส้นหุ่นนิ่งรูปทรงเรขาคณิต เทคนิคดินสอด า EE 2.การวาดเส้นหุ่นนิ่ง เทคนิคดินสอด า EE 3.การ
วาดเส้นใบหน้าคน เทคนิคดินสอด า EE 4.การวาดเส้นใบหน้าคน เทคนิคสีชอล์ค (Pastel) และ5.การวาดเส้น
คนเต็มตัว (Figure) เทคนิคดินสอเกรยอง ซึ่งผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นคณาจารย์ที่สอนในรายวิชาวาดเส้นของ
คณะศิลปวิจิตรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคนิควิธีการ การเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการบันทึกเทปวีดีโอ การอัดเสียง
บรรยาย และการถ่ายภาพขั้นตอน เป็นเครื่องมือ ซึ่งเมื่อได้องค์ความรู้ดังกล่าวแล้วในช่วงปลายเดือน
พฤษภาคม 2559 คณะกรรมการฯจึงได้เผยแพร่องค์ความรู้นี้ ในรูปแบบดีวีดีและหนังสือบันทึก องค์ความรู้ชื่อ
เรื่อง“ทักษะการวาดเส้น”แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในโครงการปรับพื้นฐานนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2559 และ
ผู้สนใจรับชม โดยผู้สอนน าองค์ความรู้ไปประกอบกับการสอนในโครงการปรับพื้นฐาน ตลอดจนเผยแพร่ให้แก่
หน่วยงานในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งนักศึกษาผู้รับชมและหน่วยงานเครือข่ายให้การตอบรับในเกณฑ์ที่ดี
และจะน าองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนต่อไป