Page 65 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 65

59


               students  in  practical  skills  to  critically  thinking,  creativity  and  resolve  problems.  Knowledge
                                                                         st
               management tools (KM Tools) were used to improve for 21  century skill learning of students in
               rubber and polymer technology program. Since 2013, The Technical skills have been the pilot
               project with the aim to develop teaching styles to be more efficient as well as improving skills
               for  professional's  students.  It  was  found  that  student  learning  is  improved  effectively.  The
               students are able to plan, do, and solve the problems. The varieties of learning make good

               practices that can be apply to expand the teaching of other subjects and works. As a result, the
               organization has been developed to be the learning organization.

               Key words: Technical skill, Learning Organization, Rubber and Polymer Technolgy


               บทน า


                       สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรี
               วิชัย จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีการยาง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)  เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มี

               ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีการแปรรูปวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากยางพารา ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนา
               ประเทศ โดยสร้างบัณฑิตที่มีเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือ  "เชี่ยวชาญเทคโนโลยี  มีทักษะปฏิบัติ" และมีอัต
               ลักษณ์ของความเป็น “บัณฑิตนักปฏิบัติ”  อย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีส่วนส าคัญในการสร้างสังคม เศรษฐกิจและ
               ประเทศชาติในอนาคต จากข้อมูลของบัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษาและออกไปท างานในสถานประกอบการต่างๆ ท า

               ให้ทราบว่า ปัจจุบันบัณฑิตจ าเป็นต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางานของตน
               ให้มีความโดดเด่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง ทั้งนี้การเรียนในสถาบันการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นการเรียนการสอนที่
               เน้นทฤษฎีเชิงวิชาการเป็นหลักนั้น อาจไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
               แบบก้าวกระโดด ในปีการศึกษา 2556 เป็นต้นมา สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ได้มีการพัฒนาการเรียนการ

               สอนเพื่อให้สอดคล้องตามลักษณะการเรียนรู้ในศตวรรษ 21 อย่างจริงจัง โดยการปรับเปลี่ยนแนวทางและวิธีการ
               เรียนการสอนในทุกรายวิชา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยใช้เครื่องมือการ
               จัดการความรู้ (KM tools) เป็นส่วนส าคัญในการพัฒนาการเรียนการสอน


                       วิชาทักษะวิชาชีพเป็นส่วนหนึ่งในวิชาบังคับของหลักสูตรที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ
               โครงงาน (Project-based Learning) ควบคู่กับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ซึ่งมี
               จุดประสงค์ให้นักศึกษาได้ใช้องค์ความรู้เรื่องวัตถุดิบยางพาราและสารเคมีส าหรับยาง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก

               ยางพาราขึ้นมา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ตรงตามความ
               ต้องการของกลุ่มผู้บริโภค และมีความสวยงามเฉพาะตัว โดยแต่ละปีการศึกษานั้น นักศึกษาจะมีการพัฒนาชิ้นงาน
               ที่หลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวออกมาอย่างสม่ าเสมอ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนใน
               รายวิชานี้ที่มีความยืดหยุ่นสูงและสอดรับกับยุคสมัยอย่างทันท่วงที แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน
               วิชาทักษะวิชาชีพนี้ได้ถูกพัฒนาต่อยอดและขยายผลไปสู่วิชาต่างๆที่เปิดสอนในหลักสูตร จนสามารถพัฒนา

               กระบวนการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์กับการด าเนินงานตามภารกิจ
               ต่างๆของสาขาวิชาได้อีกด้วย
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70