Page 69 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 69
63
ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตีฟอง (หมอนยางพารา)
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
การด าเนินงานตามขั้นตอนต่างๆข้างต้น เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้แก่บุคคลากร
นักศึกษา และหน่วยงานได้ โดยผลที่เกิดกับนักศึกษาคือการที่นักศึกษามีทักษะวิชาชีพและมีความเชี่ยวชาญในการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่สูงขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี โดยพบว่าผล
ประเมินจากผู้เรียนวิชาทักษะวิชาชีพ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 พบว่า วิชาทักษะวิชาชีพได้รับ
คะแนนประเมินจากนักศึกษาเท่ากับ 4.77 จากคะแนนเต็ม 5 คิดเป็นร้อยละ 95.40 ซึ่งมากกว่าปีการศึกษา 2557
และ 2558 ซึ่งได้รับคะแนนประเมินร้อยละ 88.40 และ 91.20 ตามล าดับ นอกจากนี้หลังจากการด าเนินการ
ดังกล่าวส่งผลให้องค์กรเกิดวินัย 5 ประการ ตามหลักการของ Peter M. Senge (ปาริฉัตต์, 2558) คือ 1. บุคคลที่
รอบรู้ (Personal Mastery) ซึ่งมีความรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเทคนิควิธีการที่มีผลส าเร็จยืนยัน
สามารถถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นได้ต่อไป 2. รูปแบบความคิด (Mental Model) เกิดรูปแบบความคิดใหม่ ที่มี
ความแตกต่างจากเดิม แต่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งส่งผลต่อการท างานร่วมกันเป็นทีม 3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม
(Shared Vision) จากผลส าเร็จและการเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้สมาชิกในองค์กรมีความมุ่งหวังและเป้าหมายที่
เป็นเลิศร่วมกัน ย่อมท าให้เกิดวิสัยทัศน์ที่กว้างและลึกร่วมกัน ส่งผลดีต่อการท างานที่มุ่งสู่ความส าเร็จได้อย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) การพึ่งพา ช่วยเหลือ สนับสนุนกันอย่างเป็นระบบ
ก่อให้เกิดองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันของสมาชิกในองค์กรได้เป็นอย่างดีและ 5. การคิดเชิงระบบ
(System Thinking) ที่สามารถสอดประสานกันได้อย่างลงตัว โดยสมาชิกในองค์กรสามารถคิดในภาพรวมที่กว้าง
และลึกอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์สามารถน าผลจากการปฏิบัติไปขยายผลเพื่อปรับใช้กับการเรียนการ
สอนในวิชาอื่นๆได้ รวมทั้งการพัฒนาภาระงานอื่นๆ ของสาขาฯ คณะฯและมหาวิทยาลัย โดยใช้รูปแบบ
Nonaka’s Model ดังภาพที่ 5 ซึ่งประกอบด้วย 1. มีการถ่ายโอนความรู้ระหว่างกลุ่มและบุคคล ทั้งจากภายใน
และภายนอกหลักสูตร (Socialization) 2. มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากภายนอกที่ทันต่อเหตุการณ์ ยุคสมัยและการ
เปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งจากผู้ใช้ประโยชน์ ผู้รับริการหรือกลุ่มเป้าหมายโดยตรง (Externalization) 3. มีการ
เชื่อมโยงความรู้ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาเพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดีและเหมาะสม เพื่อน าไปปรับใช้กับภาระ