Page 67 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 67

61


               ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
               คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มี 6 ขั้นตอน คือ


                       ขั้นตอนที่ 1 การสอนทักษะพื้นฐานที่จ าเป็น มีการใช้ KM tools ได้แก่ การถ่ายทอดโดยการเล่าเรื่อง
               (storytelling) ที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้ความเป็นมาของการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
               และมีการใช้แหล่งผู้รู้ในองค์กร (center  of  excellence)  จากอาจารย์ในสาขาที่จะให้ความรู้ที่จ าเป็นเพื่อให้

               นักศึกษามีความรู้เชิงทฤษฎีและปฏิบัติที่เพียงพอเพื่อสามารถน าไปประยุกต์ใช้ในพัฒนางานในขั้นตอนต่อไป อีกทั้ง
               การจัดจับกลุ่มพูดคุยเรื่องการเรียนรู้หรือแนวปฏิบัติต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่การด าเนินงานผ่านทางชุมชนนัก
               ปฏิบัติ (communities of practice) โดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง


                       ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้ทักษะพื้นฐาน เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างชิ้นงานอย่างง่ายเป็นรายบุคคลซึ่ง
               เป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action  learning) โดยมีการฝึกจ านวน 3  ทักษะ(ฐาน) คือ การหล่อแบบพวง
               กุญแจที่ระลึก การชุบถุงมือแม่บ้านและการตีฟองตุ๊กตายางฟองน้ า โดยใช้เวลาประมาณ 30 ชั่วโมง ซึ่งนักศึกษา
               สามารถออกแบบชิ้นงานที่สนใจ และลงมือปฏิบัติโดยมีอาจารย์ บุคลากร เป็นผู้สอนงาน (coaching)  และเมื่อ

               ผลิตชิ้นงานแรกส าเร็จแล้ว จะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการปฏิบัติงาน (job rotation) เพื่อฝึกทักษะอื่นๆต่อไป
               จนครบทั้ง 3  ทักษะ โดยนักศึกษาแต่ละคนจะเป็นพี่เลี้ยง (mentoring)  ให้แก่คนอื่นๆสลับกัน เพื่อให้เกิดการ
               แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีมิติความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขึ้นมา ซึ่งสามารถสร้างเครือข่ายขนาดเล็ก ที่จะ

               น าไปสู่ความร่วมมือกันในขั้นตอนต่อไป

                       ขั้นตอนที่ 3  การน าเสนอชิ้นงานเพื่อประเมินผล เมื่อนักศึกษาเรียนรู้และฝึกทักษะพื้นฐานครบทั้ง 3
               ทักษะแล้ว จะมีการจัดเวทีเสวนาขึ้น (dialogue) เพื่อน าผลงานรายบุคคลมาน าเสนอต่อคณะกรรมการ

               (ประกอบด้วย อาจารย์ บุคลากร และตัวแทนนักศึกษาในสาขาเป็นกรรมการ) โดยมีการทบทวนบทเรียนต่างๆ
               (after action review) เพื่อเฟ้นหาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากการเรียนรู้ (best practice) ทั้งนี้คณะกรรมการจะ
               มีการประเมินผลงานเป็นรายบุคคล โดยเกณฑ์การประเมินมี 2 ระดับคือ ผ่าน (คะแนนประเมินตั้งแต่ร้อยละ 75
               ขึ้นไป) และไม่ผ่าน (คะแนนประเมินต่ ากว่าร้อยละ 75)  กรณีที่ชิ้นงานในทักษะใดๆ ไม่ผ่านการประเมิน นักศึกษา
               จะน าค าแนะน าไปปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานใหม่ ภายในระยะเวลาที่ก าหนด แล้วน าเสนอใหม่ เมื่อนักศึกษาผ่านการ

               ประเมินแล้ว คณะกรรมการจะพิจารณาเพื่อแบ่งกลุ่มนักศึกษาตามความถนัดเฉพาะ (ซึ่งพิจารณาจากผลงานที่
               น าเสนอ) เพื่อพัฒนาชิ้นงานแยกทักษะเฉพาะต่อไป


                       ขั้นตอนที่ 4  การพัฒนาชิ้นงานแยกทักษะเฉพาะ นักศึกษาในแต่ละกลุ่มจะมีการวางแผนเพื่อสร้าง
               ชิ้นงานเฉพาะกลุ่มที่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ขั้นตอนนี้จะน าวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้เป็นเครื่องมือในการ
               ด าเนินการ เริ่มต้นนักศึกษาจะมีการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่สนใจและผลงานของนักศึกษารุ่นก่อน
               หน้ามาประกอบการพิจารณาเพื่อน ามาออกแบบและวางแผนในการท าผลิตภัณฑ์นั้นๆ (P) จากนั้นจะน าเสนอโครง

               ร่างแผนงานต่อคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ บุคลากรและตัวแทนนักศึกษา ทั้งจากในสาขาและนอก
               สาขา เพื่อร่วมกันพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ก่อนการลงมือปฏิบัติ เมื่อผ่านการพิจารณาจาก
               คณะกรรมการแล้ว นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะเริ่มด าเนินการฝึกปฏิบัติในการสร้างผลิตภัณฑ์ (action learning) ของ
               กลุ่มตนเองขึ้นมา (D) ซึ่งให้เวลาประมาณ 30 ชั่วโมง โดยในระหว่างการด าเนินการนี้จะมีการวางแผนการท างาน

               ย่อยของแต่ละงาน ซึ่งจะเกิดวงจรคุณภาพแบบย่อยขึ้น (pdca) ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะแต่ละด้านที่
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72