Page 70 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 70
64
งานต่างๆ (Combination) และ 4. การน าผลความรู้ที่ได้จากการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ซึ่งเกิดเป็นประสบการณ์
และปัญญาฝังอยู่ในตัวคน กลายเป็น Tacit Knowledge สามารถน าไปถ่ายทอดหมุนเวียนต่อไป (ปาริฉัตต์, 2558)
ภาพที่ 5 Nonaka’s SECI Model
ที่มา: ปาริฉัตต์ (2558)
ปัจจัยที่ท าให้เกิดผลส าเร็จ
จากการด าเนินงานพบว่าสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย
สามารถด าเนินการจนประสบผลส าเร็จได้เนื่องจากมีปัจจัยที่ส าคัญในการส่งเสริมการพัฒนาองค์กรแห่งการรู้คือ
1. บุคลากรในสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มีความพร้อมและความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงเพื่อ
พัฒนาการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือจัดการความรู้ (KM Tolls) ในการพัฒนา
และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาสาขาไปสู่องค์กรแห่งการรู้ส่งผลให้การด าเนินงานต่างๆเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและส าเร็จตามวัตถุประสงค์
2. นักศึกษามีความเห็นความส าคัญ มีความสนใจและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่เน้น
การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ มากกว่าการถ่ายทอดความรู้ด้วยการสอน
3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้ความส าคัญกับการ
เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงท าให้การด าเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลส าเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
สรุป
จากการพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น พบว่าการน าเครื่องมือจัดการความรู้
ที่หลากหลายมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาทักษะวิชาชีพสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ท าให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการปฏิบัติงานและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ