Page 663 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 663
657
วิธีการด าเนินงาน
1. เครื่องมือในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยมีลักษณะ
ผสมผสานกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการทดสอบกับกลุ่มประชากรตัวอย่างคือ
ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ อาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมการจัด
การศึกษานอกระบบ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ธนาคารอาชีพเพื่อปวงชน ของสถาบันถ่ายเทคโนโลยีสู่ชุมชน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ส าหรับข้อมูลเชิงปริมาณคือการใช้แบบสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลความ
พึงพอใจของประชากรกลุ่มเป้าหมาย ส าหรับข้อมูลเชิงคุณภาพคือการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่
เกี่ยวข้องกับโครงการฯ โดยมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเห็นคิด ข้อเสนอแนะและปัญหาอุปสรรคต่างๆ
2. ประชาการและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ธนาคารอาชีพเพื่อปวงชน จ านวน 10 คน
3. การวิเคราะห์ข้อมูล ส าหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส าหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ
สัมภาษณ์ การสังเกตโดยน าเสนอในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
ผลการวิจัยของการจัดการความรู้ในโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบ การเรียนรู้ตลอด
ชีวิต ธนาคารอาชีพเพื่อปวงชน ของสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนาตาก โดยมีปัจจัยเรื่องของพื้นที่ตั้งในการด าเนินงานและวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่าง ระยะเวลาในการ
ด าเนินงานที่จ ากัด จึงผลให้หน่วยงานต้องน าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงานเครือข่าย
มาเป็นเครื่องมือในการอ านวยความสะดวกในการจัดการองค์ความรู้ การสร้างองค์ความรู้ของโครงการ เพื่อลด
กระบวนการท างานและขั้นตอนการท างานรวบถึงข้อมูลและองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นชุดเครื่องมือของกระบวน
พัฒนาองค์ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) และความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ที่
เกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ
1) การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) โดยเป็นการพิจารณาองค์ความรู้ที่จ าเป็น
ต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ และพิจารณาว่าทางคณะท างานมีองค์ความรู้นี้หรือยัง