Page 171 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 171
165
ในปัจจุบันความต้องการของผลิตภัณฑ์อาหารมีเพิ่มขึ้นเป็นจ านวนมาก เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้น
และมีความต้องการอาหารในรูปของฝากเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
อาหารจึงมีการน าองค์ความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีขายในท้องตลาด หรือ
เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้ต้องสอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้บริโภคจึงจะท าให้ผลิตภัณฑ์ที่ท าการพัฒนาประสบความส าเร็จ (Fuller, 1994) การเพิ่มมูลค่าผลิตผลทาง
การเกษตรมีได้หลายวิธี เช่นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีราคาที่สูงขึ้นโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ การ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น (ไพโรจน์,
2545) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนจะประสบความส าเร็จได้ต้องใช้องค์ความรู้จากการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับการบริการวิชาการ ซึ่งผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการ
เรียนการสอนที่ประสบความส าเร็จจะสามารถช่วยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
ชุมชนบ้านห้วยผาก ต าบลสวนผึ้ง อ าเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีพื้นที่ติดกับประเทศสาธารณรัฐแห่ง
สหภาพพม่า และยังเป็นชุมชนที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอ าเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี (ส านักงาน
จังหวัดราชบุรี, 2554) โดยรอบต าบลสวนผึ้งมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง จึงท าให้มีนักท่องเที่ยว
เดินทางมาที่ต าบลสวนผึ้ง เป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และช่วงเทศกาล ซึ่งภายในชุมชน
บ้านห้วยผากได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรทั้งที่เป็นอาหาร ของใช้ ของฝากประเภท
ต่างๆ โดยผลิตผลทางการเกษตรที่ส าคัญที่น ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีปลูกกัน
อย่างแพร่หลายในชุมชน ได้แก่มะนาว กล้วยน้ าว้า และหน่อไม้ เป็นต้น โดยปกติกลุ่มชุมชนได้มีการบริหาร
จัดการผลิตผลทางการเกษตรโดยการขายเป็นผลิตผลสดเท่านั้น ซึ่งจะขายให้กับนายหน้าที่เข้ามารับซื้อเพื่อไป
ขายต่อ และน าไปส่งขายยังรีสอร์ทที่อยู่ในบริเวณชุมชน เมื่อชาวบ้านได้มีการรวมกลุ่มกันและได้มีการศึกษาดู
งานของกลุ่มอื่นๆ ที่ประสบความส าเร็จในการพัฒนาผลิตผลที่ชุมชนได้ผลิตขึ้น ดังนั้นกลุ่มชุมชนบ้านห้วยผาก
จึงมีแนวความคิดที่จะพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรของตนเองให้มีความหลายหลากมากขึ้น และยังเป็นส่วน
หนึ่งในการเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่กลุ่ม เพื่อมีรายได้เพิ่มอีกด้วย แต่กลุ่มชุมชนเองยังขาดความรู้ ความ
เข้าใจ และเทคนิคในการแปรูปผลิตผลทางการเกษตรให้มีความหลากหลาย และเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานาน
จึงท าให้ชุมชนยังไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อจ าหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวได้
ดังนั้นกลุ่มชุมชนจึงเล็งเห็นความส าคัญในการเพิ่มพูนทักษะ และความรู้ในการแปรรูปผลิตผลทาง
การเกษตรให้สามารถจ าหน่ายเป็นของฝากให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น และเป็นเอกลักษณ์ของ
ชุมชน เพื่อจ าหน่ายให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งชุมชนบ้านห้วยผากเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เขตแนวเขา จึงท าให้มี
ชาวเขาพื้นบ้านอาศัยอยู่หลายกลุ่ม ทางชุมชนบ้านห้วยผากจึงได้มีแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมให้ชาวเขามีรายได้
อีกด้วย ดังนั้นคณะผู้ด าเนินงานจึงเล็งเห็นถึงความส าคัญที่จะเป็นส่วนผลักดันกลุ่มชุมชนบ้านห้วยผาก ต าบล
สวนผึ้ง อ าเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ให้สามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพ จากผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะนาว จึง
ได้มีแนวความคิดในการถ่ายทอดความรู้จากบทเรียนให้แก่ชุมชนบ้านห้วยผากโดยผ่านกระบวนการจัดการ
ความรู้ในการน ามะนาวแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้นาน และสามารถเป็นของฝากได้ คณะผู้
ด าเนินงานได้รวบรวมข้อมูลความต้องการของชุมชน น าองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในรายวิชา
ประสบการณ์จากการปฏิบัติ เอกสารค าสอน ต ารา และข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอนมาปรับปรุงให้เข้ากับ
บริบทของชุมชน และน ามาเป็นโจทย์ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา โดย
อาศัยเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อชุมชน เมื่อกลุ่มชุมชนน าประสบการณ์ที่ได้จากการ
บริการวิชาการไปต่อยอดในการปฏิบัติจริงจะสามารถเพื่อสร้างอาชีพ และรายได้ให้ยั่งยืนต่อไป