Page 19 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 19

13


               บทน า

                       ปัจจุบันธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้าน
               เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าที่ไม่หยุดนิ่ง การ
               เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันเกิดขึ้นทั้งระดับโลก ระดับภายในประเทศ และระดับภูมิภาค เป็น
               ต้น (พรเทพ ผดุงถิ่น, 2552) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากกระแสการเปลี่ยนแปลงแห่งโลกาภิ

               วัตน์  ซึ่งเป็นเศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น  ธุรกิจจ าเป็นต้องมีการปรับตัวและเตรียมพร้อมรับ
               สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอด  และเติบโตได้อย่างมั่นคงใน
               สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างไม่หยุดนิ่งตลอดเวลา
                       ธุรกิจชุมชนเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน เนื่องจาก

               ธุรกิจชุมชนเป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นการผลิตที่น าทรัพยากรในท้องถิ่นพร้อมกับน าเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาและ
               สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ  สร้างความเป็นเอกลักษณ์จุดเด่น  และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อ
               น าเสนอ ซึ่งกิจกรรมชุมชนเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้
               ให้กับชุมชน  สร้างความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองอันน าไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน  (สุรัสวดี  เทียนทอง,

               2552) จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ให้ความส าคัญและสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน
               ให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และส่งเสริมให้สินค้าสู่สากลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน จึง
               มุ่งแสวงหากลยุทธ์ทางการแข่งขันเพื่อน ามาใช้ในการแข่งขันของธุรกิจอันน าไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันใน

               ยุคเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงโดยพยายามยกระดับฐานะผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นและสามารถแข่งขันภายใน
               ตลาดระดับสากล
                       การจัดการตลาดเป็นกลยุทธ์ทางการแข่งขันที่มีความส าคัญในการด าเนินธุรกิจอย่างยิ่งเนื่องจากการ
               จัดการตลาดเป็นเครื่องมือส าหรับการขับเคลื่อนและน าเสนอสินค้าและบริการให้เป็นที่รู้จักและตอบสนองความ
               ต้องการของลูกค้าอันน าไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างสูงสุด ธุรกิจชุมชนต้องแสวงหากลยุทธ์ทางการตลาดที่

               จะต้องน ามาปรับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันอันน าไปสู่ความได้เปรียบทางการ
               แข่งขัน ซึ่งจะต้องค านึงถึงการมีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ขณะที่กลยุทธ์ทางด้าน
               ราคา จะต้องให้ความส าคัญส าหรับการก าหนดราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้และยินดีจ่าย การจัดจ าหน่ายและกระจาย

               สินค้าต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อ  กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดต้องใช้ความพยายามจูงใจลูกค้าให้เกิด
               ความชอบในสินค้าและดึงดูดความสนใจที่จะซื้อสินค้าในที่สุด (Kotler, 1997; เสรี วงษ์มณฑา,2542) จึงกล่าวได้ว่า
               กลยุทธ์ทางการตลาด เป็นกลยุทธ์ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจสามารถแข่งขันเพื่อสร้างความ
               ได้เปรียบทางการแข่งขัน  (ชาญยุทธ  บุ้งทอง  และคณะ,  2555)  ทั้งนี้  ความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็น

               ความสามารถของชุมชนที่จะกระท าหรือให้บริการแก่ลูกค้าได้ดีกว่าและเหนือกว่าคู่แข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง
               ความแตกต่าง ความโดดเด่น สามารถน าเสนอรูปแบบการให้บริการพัฒนาและสร้างสรรค์ตัวสินค้าให้ทันสมัยอยู่
               เสมอ สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและเติบโตได้อย่างมั่นคง    (สุภมิตร ไชยรัตน์ และคณะ,2555)
                       ธุรกิจชุมชนบ้านกะโสมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากองค์ความรู้และน าผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่นคือแป้งสาคู

               มาผลิตเป็นข้าวเกรียบแป้งสาคู  เมื่อผลิตเสร็จก็จะต้องด าเนินการทดสอบตลาดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับ
               ความต้องการของผู้บริโภค  ซึ่งปัญหาของผลิตภัณฑ์ในการผลิตคือ  คุณภาพและรสชาตไม่คงที่  ไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่
               สวยงาม  ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากต้องซื้อบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสม  ขาดการทดสอบคุณภาพทาง
               โภชนาการ  และยังไม่สามารถหาตลาดได้
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24