Page 21 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 21

15


                       3. การจัดจ าหน่าย (Place) หมายถึง โครงสร้างของช่องทาง ซึ่งประกอบด้วยสถาบันและกิจกรรม ใช้เพื่อ
               เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และบริการจากองค์การไปยังตลาด สถาบันที่น าผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเป้าหมาย คือ สถาบัน

               การตลาด ส่วนกิจกรรมที่ช่วยในการกระจายตัวสินค้า
                       4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นเครื่องมือการสื่อสารเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อตราสินค้าหรือ
               บริการ หรือความคิด หรือต่อบุคคล หรือเป็นการติดต่อสื่อสาร เกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เพื่อสร้าง
               ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ การติดต่อสื่อสารอาจใช้พนักงานขายท าการขายและการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้คน

               เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมีหลายประการ องค์กรอาจใช้หนึ่งหรือหลายเครื่องมือ ซึ่งต้องใช้หลักการเลือกใช้
               เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบประสมประสานกัน (Integrated Marketing Communication หรือ IMC)
               โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับลูกค้า ผลิตภัณฑ์ คู่แข่งขันโดยบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันได้ เครื่องมือการส่งเสริม
               การตลาดที่ส าคัญ  ได้แก่  การโฆษณา  การขายโดยใช้พนักงานขาย  การส่งเสริมการขาย  การให้ข่าวและการ

               ประชาสัมพันธ์ และ การตลาดทางตรง
                       จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การจัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ เป็นปัจจัยส าคัญที่สร้างความได้เปรียบ
               ทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของชุมชนกะโสมได้ เนื่องจากการจัดการตลาดเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่
               สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง มีความพึงพอใจจากการรับบริการ และจะท าให้ธุรกิจมี

               ศักยภาพทางการแข่งขันต่อไป  ธุรกิจชุมชนกะโสมเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องตระหนักถึงความส าคัญของการสร้าง
               ศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจเนื่องจากธุรกิจ ชุมชนกะโสมมีเป้าหมายเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ สร้างความ
               เข้มแข็งแก่ชุมชน ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจ าเป็นที่ธุรกิจชุมชนกะโสม ต้องแสวงหาวิธีการจัดการ

               เชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้ธุรกิจอยู่ได้ และมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มี
               คุณภาพ มีจุดเด่น มีมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของการตลาดในยุคเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

               วิธีการด าเนินงาน

               1. ขั้นตอนในการด าเนินการ (ชัชวาลย์ ทัตศิวัช, 2558)
                       ขั้นตอนที่ 1 การเลือกชุมชนเป้าหมายที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตผลิตภัณฑ์จากชุมชนและใช้องค์
               ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการด าเนินการ

                       1.1 การเลือกชุมชนเป้าหมาย และศึกษาบริบทชุมชน
                       1.2  การเลือกบุคคลในชุมชนร่วมระดมสมองในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งสาคู เพื่อ
               ร่วมกันเสนอแนวคิดในการพัฒนาสูตรอาหารบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง และบริบทชุมชน ผู้ร่วมการระดมสมอง
               ในชุมชน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้น าชุมชน  สตรีในชุมชน บุคคล

               อื่นๆ ในชุมชน (ผู้มีภูมิปัญญา / ผู้มีประสบการณ์)
                       1.3 การเลือกบุคคลในชุมชนร่วมปฏิบัติการจัดท าผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งสาคู การเลือกบุคคลใน
               ชุมชนร่วมปฏิบัติการจัดท าผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งสาคู
                        1.4 การใช้แบบสอบถามและให้ทดลองชิมเพื่อเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการยอมรับ

               ข้าวเกรียบจากแป้งสาคูที่ได้พัฒนาขึ้น โดยเลือกบุคคลทุกวัย (รวีโรจน์ อนันตธนาชัย และคณะ, 2552)

                       ขั้นตอนที่ 2 การประชุมระดมสมองสร้างสูตรข้าวเกรียบจากแป้งสาคู ในการพัฒนาข้าวเกรียบจากแป้ง
               สาคูบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและบริบทชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม จะเริ่มต้นด้วยการประชุมระดมสมองเพื่อ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26