Page 265 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 265
259
เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี)
Technique of Shadow Play Performing (Hermit)
สุจิตตรา มินา 1
สุมล ศักดิ์แก้ว 2
1
อาจารย์ สาขาเครื่องสายไทย วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
2
อาจารย์ นาฏศิลปพื้นบ้านหนังตะลุง วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
1
E-mail: noknoi516@gmail.com , cdanst@gmail.com 2
บทสรุป
การเชิดรูปครูหนังตะลุง(ฤาษี) เป็นการเชิดที่นายหนังแต่ละคนใช้เทคนิคของตัวเองที่ได้รับการ
ถ่ายทอดมาจากครูซึ่งเมื่อได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันแล้วเห็นว่าส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันแตกต่างกันบ้าง
เล็กน้อย วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชจึงได้รวบรวมและสรุปเทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ของ
นายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นรูปแบบที่สามารถน ามาถ่ายทอดและใช้สอน
ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บรักษาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ให้
คงอยู่แบบยั่งยืนอย่างเป็นระบบ และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการเรียนการสอน และการเผยแพร่ภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้บุคลากรในองค์กรได้มีการจัดการ ผลการด าเนินงานพบว่า กระบวนการจัดการองค์
ความรู้มีขั้นตอน คือ (1) คิดหัวข้อเรื่องที่จะสร้างสรรค์ โดยการระดมความคิด (2) ตั้งกรอบแนวคิดและ
ด าเนินการให้สอดคล้อง (3) สัมภาษณ์ภูมิปัญญาโดยบันทึกเทป (4) เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ (5) บันทึกวิดีโอ
การเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) (6) จัดท ารูปเล่มเอกสารที่สมบูรณ์ การจัดการองค์ความรู้ เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง
(ฤาษี) ได้น ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ใช้เป็นรูปแบบการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ของจังหวัด
นครศรีธรรมราช ต่อไป
ค าส าคัญ: การเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี)
Summary
The shadow play performing (Hermit) is performing which each player used his technique
inherited from his teacher. They shared their knowledge about technique so there is a little
bit different. Nakhon Si Thammarat College of Dramatic Arts gathered and summarized
Technique of Shadow Play Performing (Hermit) to transmit and teach the students. The
Objective: Knowledge management is to store the knowledge of the folk wisdom,
“Technique of Shadow Play Performing (Hermit)” sustainably and systematically, to
increase the effective learning and to expose the folk wisdom for the public. Knowledge
management had 6 steps : 1.) Create the theme by brainstorming 2.) Make the conceptual
Framework 3.) Interview the folk wisdoms by recording 4.) Arrange systematically 5.) Record