Page 266 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 266

260


               VDO about Shadow Play Performing (Hermit) 6.) Do page making for a book perfectly. It can
               use for learning in Pattern of Shadow Play Performing in Nakhon Si Thammarat Province.

                       The findings indicated that each player (Naiy Nang) inherited the knowledge from his
               teacher. They had knowledge sharing about Technique of Shadow Play Performing, so there
               is a little bit different. Nakhon Si Thammarat college of  Dramatic  Arts  gathered  and
               summarized  Technique  of  Shadow  Play  Performing  (Hermit)  to  transmit  and  teach  the

               students.

               Key words: The Shadow Play Performing (Hermit)

               บทน า

                       หนังตะลุง เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ที่มีมายาวนาน เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ส าคัญ
               อย่างหนึ่งของพื้นที่ภาคใต้ เป็นการแสดงที่เล่าเรื่องราวผ่านเงาในรูปตัวหนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็น
               จังหวัดหนึ่งที่มีความนิยมในการชมหนังตะลุงที่มีมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ จนมาถึงปัจจุบันความนิยมเริ่ม

               น้อยลงเนื่องจากวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ าวันมากขึ้น เยาวชนหันไปให้ความสนใจท าให้
               หนังตะลุงได้รับความนิยมลดน้อยลงไป

                       วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการอนุรักษ์ สืบสาน
               ศิลปวัฒนธรรมไทย ได้เห็นถึงความส าคัญของศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้หนังตะลุง จึงได้รวบรวมองค์
               ความรู้ในเรื่อง เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ทั้งนี้ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เกิดความรักความหวงแหน

               และเห็นคุณค่าความส าคัญในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองเพื่อช่วยกันอนุรักษ์สืบทอดต่อไป  และอีกทั้ง
               เป็นองค์ความรู้ที่มีความส าคัญอย่างหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดให้กับเยาวชนได้เรียนรู้ ได้รู้จักขั้นตอนและวิธีการ
               เชิดหนังตะลุงแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนจากนายหนังรุ่น

                       การเก็บรวบรวมองค์ความรู้ เรื่องเทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) วิทยาลัยนาฏศิลป

               นครศรีธรรมราชได้ความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากนายหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการสนับสนุน
               ด้านข้อมูล ส่งผลให้สามารถรวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารองค์ความรู้ และเผยแพร่ลงในเว็ปไซต์ของวิทยาลัยฯ
               ต่อไป



               วิธีการด าเนินงาน
                   1.  การค้นหาความรู้

                       -  แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้โดยคัดเลือกจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและ ครู อาจารย์ที่มี
               ความรู้ประสบการณ์ความช านาญหรือเป็นผู้อนุรักษ์ในเรื่องเทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) มาร่วมในการ
               จัดเก็บความรู้
                       - จัดท าการบ่งชี้ความรู้  Knowledge  mapping โดยระดมความคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่นว่าความรู้

               ใดส าคัญต่อการจัดการองค์ความรู้ใน เรื่อง เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี)
                   2.   การสร้างและแสวงหาความรู้
                       - ก าหนดหน้าที่ในการด าเนินงานสร้างและแสวงหาความรู้เช่น ประธาน เลขาฯ ผู้ช่วยเลขาและผู้
               บันทึกข้อมูลเครื่องบันทึกเสียง
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271