Page 269 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 269
263
12. เยื้องรูปอีกครั้ง ตามจังหวะและท านองเพลงของดนตรี เพื่อเปลี่ยนจังหวะหน้าทับ แล้วกดรูปตาม
จังหวะทับสามครั้ง (- - - ปับ/- - - ปับ/- - - -/- - - -/) (- - - ปับ/- - - ปับ/- - - -/- - - -/)
(- ปับ - ปับ/- - - ปับ/- - - -/- - - -/) จากนั้นเยื้องรูปเปลี่ยนเป็นลักษณะในท่าเหาะ เหาะผ่าน
ดวงไฟไปด้านซ้าย (โดยให้เงาของรูปผ่านมุมจอส่วนบนด้านซ้าย) หลบรูป
13. ออกรูปทางด้านขวา เหาะผ่านดวงไฟไปด้านซ้าย โดยให้เงาของรูปผ่านมุมจอส่วนบนด้านขวา
หลบรูป
14. ออกรูปทางด้านซ้ายมือ เหาะผ่านดวงไฟไปด้านขวา โดยให้เงาของรูปผ่านมุมจอส่วนบนด้านขวา
หลบรูป
15. (ปักรูป)
- ตั้งนะโม ไหว้พระ ตั้งบทสัคเค ตั้งบทธรณีสาร
16. (ถอดรูป) เยื้องรูปตรงกลางจอ ตามจังหวะดนตรี เหาะผ่านดวงไฟไปด้านซ้ายโดยให้เงาของรูป
ผ่านมุมจอส่วนบนด้านขวา (ท าจังหวะ) หลบรูป
17. ออกรูปทางด้านซ้ายมือ เหาะผ่านดวงไฟไปด้านขวา โดยให้เงาของรูป ผ่านมุมจอส่วนบนด้านขวา
(ท าจังหวะ) หลบรูป
อภิปรายผล
ก. ผลกระทบที่เป็นประโยชน์หรือสร้างคุณค่า
การจัดการความรู้เรื่อง เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรวิทยาลัยนาฏ
ศิลปนครศรีธรรมราช คือ
1. วิทยาลัยฯ มีเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. วิทยาลัยฯ มีแบบเรียนเรื่อง เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) เพื่อใช้สอนนักเรียน
ข. ปัจจัยที่ท าให้เกิดผลส าเร็จ
1. ครูอาจารย์ มีความมุ่งมั่นในการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความอนุเคราะห์และร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ค. ปัญหา อุปสรรค
ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละท่านที่ไปขอความอนุเคราะห์อยู่ต่างอ าเภอการเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึง
มีความไม่สะดวก อีกทั้งครูมีภาระงานสอนมากท าให้มีเวลาว่างไม่ตรงกัน
ง. แนวทางแก้ไข
ใช้เวลาหลังเลิกเรียน และช่วงปิดภาคเรียน เป็นเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สรุป
การด าเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ เรื่อง เทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ประสบความส าเร็จ
โดยได้รับความรวมมือจากครูวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช และภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านหนังตะลุง จน
ท าให้เกิดมีรูปแบบเทคนิคการเชิดรูปครูหนังตะลุง (ฤาษี) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
บรรณานุกรม
มนตรี ตราโมท. 2536. เครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : อนุรักษ์การพิมพ์.
ส านักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2555. ศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุง, สุราษฏร์ฐานี