Page 271 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 271

265


               บทน า

                       สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการ
               ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การวิจัยถือเป็นวิธีการที่จะ
               ท าให้ได้ความรู้ใหม่ เพื่อที่จะท าให้องค์การต่าง ๆ เกิดการพัฒนาอย่างถูกต้องและมีทิศทางที่ชัดเจน ดังนั้น
               องค์การธุรกิจหรือองค์การทางด้านการศึกษาจึงมีการท าวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อน าผลสะท้อนที่ได้จากการ

               ศึกษาวิจัยไปปรับใช้รวมทั้งการน าไปเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับสภาพขององค์การและบริบทที่มีความแตกต่างกัน
               ไปในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ในสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมในอดีตอย่างเห็นได้ชัด ความ
               สลับซับซ้อนของปัญหาในสังคมท าให้การวิจัยที่ใช้รูปแบบเดิมๆ อาจไม่สามารถตอบค าถามการวิจัยได้ตรง
               ประเด็นและได้ผลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้มีการพัฒนารูปแบบและ

               เทคนิคการวิจัยใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา การใช้ระเบียบวิจัยเพียงแบบเดียว คือ การวิจัยเชิงปริมาณ หรือการวิจัย
               เชิงคุณภาพอาจไม่สามารถตอบโจทย์หรือปัญหาการวิจัยได้อย่างครอบคลุม จึงต้องน าการวิจัยแบบผสมผสาน
               (Mixed Methods Research) (จุไรรัตน์ ทองค าชื่นวิวัฒน์, 2556) เข้ามาใช้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาองค์การ
               ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

                       วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เกิดขึ้นจากการน าเอาแนวคิดวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิง
               คุณภาพมาร่วมกันศึกษาหาค าตอบเกี่ยวกับปรากฏการณ์ หรือตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่
               ท าการศึกษานั้น ๆ โดยหวังจะได้รับค าตอบที่เป็นความรู้ของปรากฏการณ์หรือตัวแปรดังกล่าวทั้งภาพกว้าง

               และภาพลึกหรือได้รับความรู้หลากหลายแง่มุมขึ้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมาในประเทศสหรัฐอเมริกา วิธี
               วิจัยแบบผสมผสาน ได้ถูกน ามาใช้เป็นเครื่องมือส าหรับการค้นหาความรู้ความจริง ในวงวิชาการในสาขาต่าง ๆ
               อย่างแพร่หลาย จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า ในทุกวันนี้หากอ่านรายงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทาง
               สังคมของมนุษย์ จะพบว่า ได้มีการใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานเกือบจะแทบทั้งสิ้น (รัตนะ บัวสนธ์, 2554) การ
               วิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยรูปแบบที่สามที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักวิจัยและนักวิชาการว่าเป็น

               ประโยชน์ต่อวงการวิจัย เนื่องจากรวมข้อดีของการวิจัยทั้งสองรูปแบบ ขณะที่แก้ไขข้อด้อยของการวิจัยแบบใด
               แบบหนึ่งไป (อโณทัย งามวิชัยกิจ, 2558)
                       การจัดการความรู้ (Knowledge  Management  :  KM)  ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือหรือวิธีการในการ

               พัฒนาประสิทธิภาพในการท างานของหน่วยงานในด้านต่าง ๆ ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรและ
               องค์กรให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความส าคัญในการจัดการ
               ความรู้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยในการจัดการความรู้จะเป็นแนวทางที่สนับสนุนให้องค์การต่าง ๆ เป็นองค์การแห่ง
               การเรียนรู้ ส าหรับการจัดการความรู้ถือเป็นเครื่องมือส าคัญในการวบรวมความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ที่ฝังในตัว

               บุคคล (Tacit    Knowledge)  และความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge)  มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้
               บุคลากรที่อยู่ในองค์การต่าง ๆ สามารถเข้าถึงความรู้และมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้
               เป็นผู้รู้ รวมทั้งน าความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเสริมสร้างองค์การให้มี
               ความสามารถในการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

                       สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษา
               ระดับปริญญาตรีด้านการจัดการการบิน ได้ตระหนักถึงความส าคัญของการพัฒนาด้านการวิจัยเพื่อพัฒนา และ
               เป็นการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัยซึ่งถือเป็นผลงานด้านวิชาการ
               ให้ปรากฏสู่สังคมในการด าเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว วิธีการหนึ่งที่สถาบันเทคโนโลยีการบินใช้ คือ

               การจัดการความรู้ (Knowledge  Management)  โดยสถาบันเทคโนโลยีการบินได้มีคณาจารย์ที่มี
               ประสบการณ์ด้านการศึกษาวิจัย จะท าให้เกิดการสร้างความรู้ อันน าไปสู่การมีองค์ความรู้ อันน าไปสู่การ
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276