Page 28 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 28

22


               บทน า

                       การบริการวิชาการแก่สังคม เป็นกิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันการศึกษา หรือ
               เป็นการบริการที่จัดในสถาบันการศึกษา โดยมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการ การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่ง
               ในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ที่พึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตาม
               ความถนัดและในด้านความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ชุมชน และ

               สังคมโดยกว้าง  การให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการท าประโยชน์ให้กับสังคมแล้ว คณะฯยังได้รับประโยชน์
               ในด้านต่างๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อันจะน ามาสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการ
               เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย พัฒนาต าแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ และสร้าง
               เครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ โดยเน้นการน าผลจากการบริการทางวิชาการไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนในระยะ 5 ปี

                      ชุมชนประมงชายฝั่ง ต าบลบ่อหิน อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

               การประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้เข้าไปพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
               เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยประชากรในชุมชนประมงชายฝั่งประกอบอาชีพการ
               ท าประมงชายฝั่งขนาดเล็กเป็นอาชีพหลัก ซึ่งบางรายมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าควบคู่กันไป และแม่บ้านชาวประมง

               ส่วนหนึ่งมีการรวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ า จ าหน่ายให้แก่ผู้บริโภคทั้งภายในและนอกชุมชน การ
               ด าเนินโครงการบริการวิชาการจะประสบความส าเร็จได้ ต้องอาศัยปัจจัยที่ส าคัญ คือ การจัดการความรู้
               (Knowledge management) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส าคัญในการจัดการความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่ง
               กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้
               และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิง

               แข่งขันสูงสุด นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนาบุคลากร
               และการพัฒนาองค์กรได้อย่างครบถ้วน (พรพิมล, 2550)

                       ดังนั้น คณะฯ ถือว่าการจัดการความรู้ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นปัจจัยส าคัญ ท าให้เกิดประสบการณ์ และ
               เกิดแนวทางของการปฏิบัติที่ดี (Best-practice) เพื่อให้คนรุ่นหลังน าไปศึกษา น าไปใช้ประโยชน์ และน าไปต่อยอด

               ความรู้ต่อไป เพราะสถานศึกษาเป็นองค์กรที่มีบทบาทส าคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในสังคมทุกระดับ ให้
               ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้น คณะฯ จึงได้จัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในพื้นที่ชุมชนบ่อหิน
               อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง
               วิธีการด าเนินงาน


                      1. การวางแผน
                      ประชุมคณะท างานและพิจารณาแนวทางในการ
               ด าเนินโครงการบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการ
               ของชุมชนและสามารถบูรณาการกับการเรียนการสอน

               และการวิจัยได้โดยใช้ผลการส ารวจความต้องการของ
               ชุมชน และผลการด าเนินงานของโครงการบริการวิชาการ
               ปีงบประมาณที่ผ่านมา มาปรับปรุงการด าเนินงานใน
               ปีงบประมาณปัจจุบัน โดยร่วมกันวางแผนการด าเนินงาน

               โครงการบริการวิชาการระหว่างหน่วยงานภายใน

                                                                       ภาพที่ 1 การประชุมคณะท างานร่วมกับ
                                                                              ผู้น าชุมชนบ้านปากคลอง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33