Page 360 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 360

354


               materials.  The  samples  used  in  this  research  were  a  group  of  members  of  community
               enterprise.  The  research  tools  used  consisted  of  documents,  interviews  and  observation

               form, a satisfaction survey, small group discussion, the community forum and technology
               transfer workshops on community enterprise.

               Key words: Model, Product Development, Community, Sufficiency Economy


               บทน า
                       การพัฒนาประเทศส่วนมากมักมีการขับเคลื่อนโดยการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรในประเทศ
               อยู่ดีกินดีกินดีมีอาชีพ  รายได้และสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ผ่านโครงการต่างๆ  ที่ด าเนินการโดยมี

               หน่วยงาน องค์กรในการก ากับของรัฐบาลเป็นหน่วยขับเคลื่อน ดังจะเห็นในช่วงระยะที่ผ่านมารัฐบาลแต่ละ
               สมัยได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มีอาชีพ มีความเป็นอยู่ที่ดี
               ผ่านโครงการของรัฐบาลต่างๆ ในขณะที่การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชากรในชนบท หรือชุมชนต่าง ๆ มีงานท า

               มีรายได้โดยการน าทรัพยากรในชุมชนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าออก จ าหน่าย เช่นโครงการ
               หนึ่งต าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากการขับเคลื่อนและสานต่อการด าเนินงานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
               และสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาเครือข่ายชุมชนภายใต้รากฐานของความรู้สมัยใหม่ ภูมิปัญญา
               ท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างสินค้าให้มีคุณภาพและมูลค่าสูง รวมทั้ง

               การสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน (แผนพัฒนา
               เศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554, 2549, หน้า 81)

                       ดังนั้นผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความส าคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มภาคกลาง 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม
               มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และสามารถน าไปใช้เพื่อเป็นการน าเสนอแนวทางการพัฒนาในแง่ของการต่อยอดภูมิ

               ปัญญาท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางประการหนึ่งที่จะสร้าง
               ความเจริญแก่ชุมชนกลุ่มภาคกลาง ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น มีความกินดี
               อยู่ดี โดยศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวพระราชด าริเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษารูปแบบ

               การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภาคกลาง และสร้างขีดความสามารถด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและถ่ายทอด
               เทคโนโลยีแก่ชุมชน เพื่อเพิ่มความหลากหลายและสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงและใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น
               วิธีการด าเนินงาน

                       การวิจัยเรื่อง  รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภาคกลางตามแนวพระราชด าริเศรษฐกิจพอเพียง
               ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ  รวมทั้งระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
               (Participatory  action  research:  PAR)   โดยท าการศึกษาถึงบริบทและศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิ

               ปัญญาท้องถิ่นตามความคิดเห็นของชุมชน แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนว
               พระราชด าริเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการสร้างขีดความสามารถด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการ
               ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชน
                       เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง   และกระบวนการวิจัยการ
               ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม  (Participatory action research: PAR)  ได้แก่  (1) การลงพื้นที่สังเกตบริบทของ

               ชุมชน ส ารวจสภาพพื้นที่ ทรัพยากรในท้องถิ่น   ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น   (2)  การ
               สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มผู้น าและแกนน าชุมชนรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องในงานด้านต่างๆ ของชุมชนทั้งการ
               สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง (Struction and Non-struction Interview)  (3) สนทนากลุ่ม
   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365