Page 361 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 361

355


               ย่อย (Focus Group) ในแต่ละกลุ่มย่อยพื้นที่ กลุ่มย่อยอาชีพ มีการบันทึกข้อมูลภาคสนาม (Field Note) ซึ่ง
               เป็นการจดบันทึกสิ่งที่พบเห็นจากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมระหว่างท าการปฏิบัติการ แล้วน ามาวิเคราะห์

               ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบบันทึกภาคสนามด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  (4) การจัดเวที
               ประชาคมกลุ่มผู้น าและแกนน าชุมชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมวางแผนกับชุมชนและกลุ่มอาชีพ
               คัดเลือกแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ  มีการสังเกตและสะท้อนข้อมูล น าไปวางแผนปรับปรุง
               พัฒนาอย่างต่อเนื่องในลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ   (5) การถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้ผลิต

               ชุมชน เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
               ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะการด าเนินการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่การศึกษา เน้นการกระตุ้น
               ส่งเสริม และพัฒนาทรัพยากรคน ชุมชน องค์กรและเครือข่าย เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้
               พูดคุยปรึกษา โดยจัดกิจกรรมที่เน้นการแสวงหาความรู้ ภูมิปัญญา ข้อมูล ข้อเท็จจริง ส่งเสริมการใช้

               กระบวนการทางปัญญาเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการ
                       การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน โดยได้น าพระราชด าริเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนว
               ทางการด าเนินงานให้ชุมชนมีศักยภาพในการผลิต รวมถึงมุ่งให้มีการประสานงานเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและ
               ชุมชนอย่างบูรณาการในการส่งเสริมงานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  จากสภาวะที่ประเทศ

               ก าลังประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครในฐานะส่วนราชการที่มี
               ภารกิจหลักในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ตระหนักถึงความส าคัญและคุณค่าของการจัดการความรู้และภูมิ
               ปัญญาท้องถิ่น และได้เล็งเห็นถึงความจ าเป็นเร่งด่วนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตโดยใช้ทุนทาง

               วัฒนธรรม การเชื่อมต่อไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยมีผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นจุดขาย พัฒนาต่อยอดให้เกิด
               ประโยชน์แก่ชุมชนในการน าไปสู่การพึ่งตนเอง ตลอดจนการสร้างจิตส านึกอันดีงามของคนในชุมชนเพื่อก้าว
               ไปสู่การเพิ่มมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Value Added) ให้ประเทศไทย

               ผลการด าเนินงาน

                       การท างานของทีมนักวิจัยเริ่มต้นการด าเนินประชุมวิพากษ์แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
               ระหว่างทีมวิจัยและผู้น าชุมชนกลุ่มภาคกลาง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สามารถ

               ประกอบเป็นอาชีพด้วยการพึ่งพาตนเองนั้น พื้นฐานที่ส าคัญจ าเป็นต้องให้ชุมชนรู้ศักยภาพของตัวเอง  รู้จักใช้
               ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการให้ชุมชนท าการวิเคราะห์ตนเอง  เพื่อให้เห็นถึงสภาพ
               ปัญหา รู้จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาสที่เป็นไปได้  อันจะน าไปสู่แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้
               ด้วยตนเอง โดยมีจุดเน้นที่การพึ่งพาตนเองและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ท าเองในชุมชน โดยได้วางระบบการท างานวิจัย

               ออกเป็น 5 ระยะคือ
                       1) ท าความรู้จักกับสมาชิกกลุ่มวิจัยชุมชนภาคกลางแต่ละจังหวัด เก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชนและข้อมูล
               ผลิตภัณฑ์แต่ละด้าน เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยแบ่งกลุ่มสนทนาปัญหาของ
               ชุมชน สรุปประเด็นปัญหา และความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ละด้านของชุมชน

                       2)  แบ่งคณะนักวิจัยออกเป็นกลุ่มๆ ตามผลิตภัณฑ์ของชุมชนภาคกลาง
                       3)  การประชุมวิพากษ์แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มภาคกลาง
                       4)  การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
                       5)  การต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ตลาดประชารัฐ
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366