Page 362 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 362

356


                       ขั้นตอนปฏิบัติงานขั้นที่ 1   ทีมวิจัยได้ท าการวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาของชุมชนและเหตุ
               ปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้ดังต่อไปนี้

                        1.  บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ในชุมชนไม่มาตรฐาน ไม่ดึงดูดความต้องการของลูกค้า ตลอดจนขาด
               ฉลากและตราสินค้าที่รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ท าให้ไม่น่าเชื่อถือ การให้ข้อมูลบนสลากไม่ครบถ้วน คนที่ไม่
               เคยรู้จัก ก็จะไม่กล้าน าไปใช้
                        2. ชุมชนขาดตราสัญลักษณ์หรือตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

                        3.  ขาดอัตลักษณ์ของสินค้าชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่ท าขึ้นไม่ได้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด
               ขาดจุดเด่นหรือลักษณะเฉพาะตัว
                       4.  พื้นที่ชุมชนอยู่ลึกและซับซ้อน การเดินทางเข้ามีความล าบาก ตลอดจนไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มี
               ชื่อเสียงรองรับ ท าให้ไม่มีจุดดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาอุดหนุนซื้อผลิตภัณฑ์

                        5.  ชุมชนมีวัสดุท้องถิ่นที่ปลูกเอง เช่น มะพร้าว มะนาม ข้าว กล้วย  และสมุนไพรอื่นๆ แต่ขาด
               เทคโนโลยีในการแปรรูป ท าให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ไม่เต็มศักยภาพ
                        6. ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี ท าให้ลูกค้าไม่รู้จัก ไม่ทราบถึงคุณภาพและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
                        7. ผลิตภัณฑ์ในชุมชนยังไม่ได้มาตรฐานหรือมีหน่วยงานรองรับ

                        8.  ยังไม่มีการจัดการสินค้าและการจัดจ าหน่ายอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนสู่ตลาด
               ประชารัฐ
                        9. ไม่มีการวางเป้าหมายของตลาดที่แน่ชัด ท าให้ขาดทิศทางในการวางแผนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และ

               แผนการตลาด
                       ด้านวิธีการผลิตและก าลังการผลิต  การจัดจ าหน่าย  และจุดเด่นและจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ชุมชน มี
               รายละเอียด  ดังนี้
                       วิธีการผลิตและก าลังการผลิต: สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน และประกอบอาชีพอื่นอยู่แล้ว จึง
               อาศัยการนัดหมายวันเวลาที่สะดวก มารวมกลุ่มเพื่อช่วยกันท าผลิตภัณฑ์ ปริมาณที่ผลิตขึ้นอยู่กับว่าเป็นการท า

               เพื่อใช้เอง จ าหน่าย หรือตามค าสั่งซื้อ
                       การจัดจ าหน่าย: สมาชิกกลุ่มน าผลิตภัณฑ์ไปจ าหน่าย โดยแนะน ากับคนที่รู้จัก  วางจ าหน่ายที่กลุ่ม
               วิจัยชุมชน อีกทั้งน าไปออกบูทในงานเทศกาลต่างๆ และมีการผลิตตามค าสั่งซื้อ ซึ่งเป็นของหน่วยงานที่เข้ามา

               ส่งเสริมกิจกรรมภายในชุมชน เช่น ธกส. เป็นต้น  การจ าหน่ายจึงอยู่ในวงจ ากัดส่วนใหญ่ลูกค้าเป็นชาวบ้านใน
               ชุมชน ยังไม่แพร่หลายส าหรับคนภายนอกมากนัก
                       จุดเด่นและจุดด้อยของผลิตภัณฑ์:  ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่เคยซื้อไปใช้
               ทั้งลูกค้าที่เป็นคนในชุมชนและลูกค้าภายนอกที่เคยลองใช้แล้ว แต่ด้วยลักษณะของบรรจุภัณฑ์ และเนื้อ

               ผลิตภัณฑ์ ไม่สวยงาม ดูไม่น่าเชื่อถือ ท าให้การแนะน ากับบุคคลภายนอกเป็นไปได้ยาก
                       จากการวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนภาคกลาง ผู้วิจัยสามารถสรุปข้อมูลเบื้องต้น
               เพื่อการน าเสนอการแก้ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนภาคกลาง ได้ดังนี้
                       1.  ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์แต่ละตัว โดยการจัดการอบรมเพิ่มเติมในเรื่องของการ

               ผลิตให้ได้มาตรฐานและคุณภาพที่ดี อาจต้องมีการปรับปรุงสูตร แล้วน าผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่งไปยังหน่วยงานที่
               สามารถทดสอบและให้ผลการรับรอง
                       2. การเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ จะเป็นตัวส่งเสริมและเป็นทางเลือกของการท าตลาด เช่น
               นอกจากน้ าอัญชันแล้ว อาจมีน้ าสมุนไพรอื่นๆ เพิ่ม

                       3. จัดหาผู้ที่มีความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์และสลากเพื่อให้ค าแนะน าแก่ชุมชน
   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366   367