Page 369 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 369
363
สอนศิลปะด้วยวิธีการสาธิต
Teaching the arts with demonstration method
นายศักดิ์ชาย บุญอินทร์
วิทยาลัยช่างศิลปะ ด้านการเรียนการสอน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
E-mail: sakchai_boonintr@yahoo.com
บทสรุป
วิทยาลัยช่างศิลปมีการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งศิลปะประจ าชาติและศิลปะ
สากลมามากกว่าครึ่งศตวรรษ มีผู้เชี่ยวชาญและช่างชั้นครูจ านวนมากที่มีทั้งความรู้ ประสบการณ์และความ
เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานทั้งด้านงานศิลปะและงานการสอน จากหลักฐานและร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ทั้งด้าน
ผลงานและการบันทึกข้อมูลแสดงให้เห็นว่าองค์ความรู้ดังกล่าวไม่ได้มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบและมีหลักการ
องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญบางด้านได้สูญหายไปพร้อมกับบุคคลและกาลเวลา องค์ความรู้บางอย่างยากแก่
การบันทึกเป็นทฤษฎีด้วยข้อความหรือลายลักษณ์อักษร การจัดการความรู้ในครั้งนี้จึงมีความจ าเป็นในการ
สร้างเครื่องมือและกิจกรรม ทั้งด้านการประชุม การแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจในการด าเนินกิจกรรม การ
แสดงความคิดเห็น การใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลายและครอบคลุม รวมถึงการบริการในความสะดวกด้าน
ต่างๆ สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทั้งด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การกลั่นกรอง
ความรู้ การเผยแพร่ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถจัดเก็บองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและ
ครูผู้สอนที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร ทั้งด้านความรู้และทักษะความช านาญ ตลอดจนประสบการณ์อัน
ทรงคุณค่า และน าองค์ความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ น ามาซึ่งการเรียนรู้การประยุกต์ใช้
แก้ปัญหาในทุกมิติ ทั้งด้านผู้สอน ผู้เรียน บทเรียน การสร้างสื่อนวัตกรรมและเทคนิควิธีการที่จะพัฒนาด้าน
การเรียนการสอนและการพัฒนาองค์ความรู้ การจัดการความรู้เรื่อง การสอนศิลปะด้วยวิธีการสาธิต เป็นการ
จัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนศิลปะที่เน้นผู้เรียนเป็นความส าคัญและเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เป็น
กระบวนการที่ต้องมองให้เห็นถึงความหลากหลายของมิติและภาพองค์รวมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้องค์
ความรู้สามารถสะท้อนเนื้อหา กระบวนการเรียนรู้ เทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังแสดงถึง
ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในการถ่ายทอดและการแก้ปัญหาของผู้สอน เพื่อน าไปสู่การแก้ไขและเกิดการ
พัฒนาอย่างสูงสุดแก่ผู้เรียน การจัดการความรู้ในครั้งนี้ท าให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ทั้งด้านการวิเคราะห์
เนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน รูปแบบและสาระในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสาธิต เทคนิคและวิธีการ
ในการสาธิต รวมถึงการสร้างแรงจูงใจและบรรยากาศในชั้นเรียน จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการ
น าความรู้ที่เกิดขึ้นไปจัดการสร้างระบบการจัดเก็บ การแปลงนัยยะของความรู้ไปสู่สัญลักษณ์ด้วยวิธีการในการ
ออกแบบด้วยสื่อต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่สะดวกรวดเร็วทันสมัยง่ายต่อการเข้าถึงและการน าไปใช้ในการ
จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน รวมทั้งเป็นการพัฒนาผู้สอนและสร้างองค์ความรู้ขึ้นใหม่
หมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง องค์กรจึงควรที่จะแสดงให้เห็นถึงความจ าเป็นดังที่กล่าวมาด้วยการก าหนดเป็นวาระ
ของการจัดการความรู้ในเชิงนโยบาย โดยการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร เวลา และแนวทางปฏิบัติอย่าง
ชัดเจนเพื่อที่จะสนับสนุนส่งเสริมต่อการจัดการความรู้ได้ต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังน าพาหน่วยงานไปสู่องค์กร
แห่งการเรียนรู้ที่มีหน้าที่ในการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ด้วยการบ่มเพาะทักษะ ความรู้ ภูมิปัญญา
ด้านศิลปวัฒนธรรมประจ าชาติและการสร้างสรรค์ศิลปะแก่ผู้เรียน อันท าให้เกิดคุณลักษณะทั้งในด้านคุณธรรม
จริยธรรม ความซาบซึ้งในสุนทรีภาพของศิลปะและคุณค่าความดีงาม มีความสามารถในการน าวิชาชีพและองค์
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมได้