Page 46 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 46
40
กายภาพที่ดี เป็นสังคมที่น่าอยู่และมีระบบเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนและเมืองที่มีประวัติศาสตร์
มักต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การถูกทิ้งร้าง ซึ่งน าไปสู่การเสื่อมสภาพและการสูญหายไปในที่สุด
การจัดการกับชุมชนลักษณะนี้สามารถด าเนินการเก็บรักษาไว้ได้ในหลายรูปแบบ ดังในปัจจุบันนิยมส่งเสริมให้มี
กิจกรรมการท่องเที่ยว การค้าขายในพื้นที่เพื่อให้เมืองหรือชุมชนเก่ายังคงมีการด าเนินชีวิตอยู่ (ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษ
ฐิติ, 2552)
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง ก าหนดให้วิชาการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างธุรกิจ
ใหม่ จัดอยู่ในกลุ่มวิชาชีพเลือก ส าหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 มีการเรียนการสอน
ครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 2/2557 ในรูปแบบการบรรยายและฝึกปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา ซึ่งเป็น
รูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิมๆ เช่น ท าแบบฝึกหัด ศึกษาจากกรณีตัวอย่าง การท ารายงานตามหัวข้อที่ได้รับ
มอบหมาย รวมถึงการน าเสนอหน้าชั้นเรียน ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษาบางส่วนมี
ความตั้งใจเรียนดี แต่ยังมีบางส่วนที่ไม่สนใจ ขาดความกระตือรือร้นในขณะเรียน บางส่วนมาสายและไม่ส่งงานตาม
ก าหนด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาไม่สนุกและเกิดความเบื่อหน่าย เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนที่ยังเป็น
การเรียนแบบสมมติและแทบไม่ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความสามารถในเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่เป็น
พื้นฐานตามศาสตร์ที่ก าลังศึกษาอยู่
ต่อมาในภาคการศึกษาที่ 2/2558 อาจารย์ผู้สอนจึงได้วางแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้
นักศึกษาได้ใช้ทักษะในการฝึกคิด วิเคราะห์ วางแผนและด าเนินการทดลองฝึกปฏิบัติเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่
ชุมชน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถเฉพาะตัวที่มีอยู่ รวมทั้งได้รับประสบการณ์ที่ช่วยสร้างเสริม
ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จากสถานการณ์จริง ที่ไม่เป็นเพียงการเรียนรู้แบบสมมติและอยู่แต่ในชั้นเรียน อีกทั้งยังเป็น
ความท้าทายของอาจารย์ผู้สอนที่จะต้องออกแบบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงมากที่สุด ภายใต้
ข้อจ ากัดด้านเวลาและทรัพยากรต่างๆ จึงนับเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและอาจารย์ไปพร้อมกัน จึงเป็น
ที่มาของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา “การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ : วิชาที่มหาวิทยาลัยได้
สอน + ประสบการณ์ที่มหาวิทยาลัยสอนไม่ได้” นับเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการความรู้ด้าน “การเรียนการสอน
เพื่อพัฒนาบัณฑิต (CoP1)” จากองค์กร 7 ชุมชนนักปฏิบัติ โดยมีการเลือกพื้นที่ชุมชนเก่าเป็นโจทย์ในการเรียน
การสอน เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงคุณค่าของชุมชนเมืองเก่าควบคู่กับการเรียนการสอนในรายวิชานี้ โดยมี
รายละเอียดดังที่จะกล่าวต่อไป
วิธีการด าเนินงาน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ จึงได้ปรับเปลี่ยน
กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ในภาคการศึกษาที่ 2/2558 ระยะเวลา 15 สัปดาห์ (1 ภาคการศึกษา) โดยมีนักศึกษาชั้น
ปีที่ 3 จ านวนทั้งสิ้น 33 คน ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM tools) เข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน
และใช้แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แก่นักศึกษา เพื่อให้การ
ด าเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมี 6 กระบวนการ ดังนี้
กระบวนการที่ 1 : ผู้สอนและผู้เรียนท าความเข้าใจโจทย์การเรียนรู้ร่วมกัน
อาจารย์ผู้สอนชี้แจงรายละเอียดให้นักศึกษาทุกคนรับทราบในคาบแรก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นส าคัญในการเรียน
การสอน มีประเด็นดังนี้