Page 51 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 51
45
ภาพที่ 8 ร่วมกันถอดบทเรียนที่ได้จากกระบวนการท างาน
กระบวนการที่ 6 : ผู้เรียนและผู้สอนด าเนินการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งสองทาง
1. การวัดและประเมินผล มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ท าแบบทดสอบหลังเรียน (post-test)
1.2 อาจารย์ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยพิจารณาจากผลงานของ
นักศึกษาและผลที่ได้จากการประกอบการ
1.3 นักศึกษาประเมินผลความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอนตามข้อก าหนด
ของมหาวิทยาลัย
2. อาจารย์ผู้สอนการท ารายงานผลการด าเนินการของรายวิชา (มคอ.5) หลังสิ้นสุดภาคการศึกษา และส่ง
มอบตัวอย่างสินค้าและต้นแบบ (Pattern) เพื่อใช้พัฒนาเป็นสินค้าให้แก่ตัวแทนชุมชนต่อไป
อภิปรายผลการด าเนินงาน
แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง “การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ : วิชาที่
มหาวิทยาลัยได้สอน + ประสบการณ์ที่มหาวิทยาลัยสอนไม่ได้” นับเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการความรู้ด้าน
“การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต (CoP1)” จากองค์กร 7 ชุมชนนักปฏิบัติ สามารถเป็นแนวทางที่ช่วยให้
อาจารย์ผู้สอน สามารถน าไปปรับใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ที่มีจุดมุ่งหมายในการเปิดโอกาสให้นักศึกษา
ได้รับประสบการณ์ที่ช่วยสร้างเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จากสถานการณ์จริง ได้ลองผิดลองถูก ที่ไม่เป็นเพียงการ
เรียนรู้แบบสมมติและอยู่แต่ในชั้นเรียน ซึ่งเป็นความท้าทายของอาจารย์ผู้สอนที่จะต้องออกแบบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริง ภายใต้ข้อจ ากัดด้านเวลาและทรัพยากรต่างๆ ซึ่งผู้เรียนจะได้รับในสิ่งที่มีคุณค่าที่เกิด
จากการเรียนรู้ นอกเหนือจากตัวความรู้ ซึ่งการออกแบบการเรียนรู้ลักษณะนี้เป็นการมุ่งให้ผู้เรียนสนใจสาระและ
กิจกรรมในการเรียน โดยแม้ไม่มีอาจารย์ผู้สอน สอดคล้องกับ “ลักษณะห้องเรียนกลับทาง” (Flip Your
Classroom) ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยลงมือท า (Learning by Doing) (อ้างใน วิจารณ์ พานิช, 2556)
ความท้าทายจากการจัดการเรียนการสอน พบว่า การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถ
เฉพาะตัวที่มีอยู่อย่างเต็มที่ รวมทั้งได้รับประสบการณ์ที่ช่วยสร้างเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จากสถานการณ์จริง
ซึ่งจากการจัดกิจกรรมในชุมชนเก่าล าพญา ได้เป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการกระจายผลประโยชน์ไปสู่
ชุมชน รวมทั้งได้น าเอกลักษณ์ของชุมชนมาเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว นักศึกษาได้มีการออกแบบสินค้าโดยมี
เอกลักษณ์ของชุมชนมาเป็นส่วนหนึ่งของตัวสินค้าหรือหีบห่อ เรียกได้ว่า เป็นการเล่าเรื่องให้กับตัวสินค้า (Story
Telling) ซึ่งเป็นหลักการตลาดที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ตัวสินค้า (รวิศ หาญอุตสาหะ, 2557) และยังช่วยให้ชุมชนเป็นที่
รู้จักและจดจ าได้ โดยใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking) และความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic
thinking) ที่แตกต่างและโดดเด่น นับเป็นการพัฒนากิจการเพื่อสังคมไทยให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย