Page 47 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 47

41


                            1. เนื้อหาของรายวิชาตามหลักสูตรฯ
                            2.  รูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิมที่ผ่านมา และแนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่ที่จะเปิด

               โอกาสให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเป็นผู้ประกอบการจริงในพื้นที่ชุมชน
                            3. ท าความเข้าใจและชี้ให้เห็นความส าคัญและประโยชน์ของการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
               รวมทั้ง ความสอดคล้องกับศาสตร์ทางวิชาชีพที่นักศึกษาก าลังศึกษาอยู่ จึงมีลักษณะเป็น  critical  thinking
               (ความคิดเชิงวิจารญาณ) + creative thinking (ความคิดสร้างสรรค์) ประกอบกัน

                            4.  ท าแบบทดสอบก่อนเรียน (pre-test)

               กระบวนการที่ 2 : ผู้สอนและผู้เรียนวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
                       อาจารย์ผู้สอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอน ภายใต้
               เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM  tools) “ชุมชนนักปฏิบัติ (Community  of  Practice-CoP)” ที่มุ่งให้เกิดการ
               เรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้พื้นฐานและความสนใจที่ใกล้เคียงกัน โดยมีประเด็นและข้อสรุปดังต่อไปนี้

                            1. ก าหนดโจทย์พื้นที่ที่สนใจ โดยได้ข้อสรุปว่า ต้องเป็นชุมชนที่อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัย
               สามารถเดินทางได้สะดวก เป็นชุมชนเก่าที่มีเอกลักษณ์ มีความส าคัญ สมควรได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู  มีกิจกรรม
               การค้าเป็นพื้นฐาน รวมทั้งมีศักยภาพที่จะน าผลงานนักศึกษาออกแบบไปเป็นต้นแบบเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึกของ

               ชุมชนต่อไป และสรุปได้ว่าเป็น “ชุมชนตลาดเก่าล าพญา” อ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยจ าหน่ายสินค้าใน
               บริเวณตลาดน้ าวัดล าพญา ในช่วงวันหยุดเสาร์และอาทิตย์
                            2. ก าหนดโจทย์สินค้า โดยได้ข้อสรุปว่า เป็นสินค้าหรือการบริการที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ชุมชน เพื่อ
               การอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชน ไม่ซ้ ากับสินค้าที่มีจ าหน่ายอยู่เดิม นักศึกษามีความถนัดสามารถออกแบบหรือผลิตได้
               เอง หรือพัฒนาต่อยอดมาจากสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาด ชุมชนสามารถน าไปเป็นต้นแบบเพื่อพัฒนาเป็นสินค้าหรือ

               ของที่ระลึกเพื่อจ าหน่ายต่อไปได้
                            3. ก าหนดระยะเวลาการท างาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น โดยท าเป็นตารางการท างาน ใช้เป็น
               เครื่องมือส าคัญที่ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายและแผน มีความสอดคล้องกับความเร่งรัดหรือ

               สถานการณ์จริง โดยเฉพาะวันที่ต้องไปจ าหน่ายสินค้าในชุมชน








                                ภาพที่ 1 บรรยากาศของสถานที่จ าหน่ายสินค้า บริเวณตลาดน้ าวัดล าพญา



               กระบวนการที่ 3 : ผู้สอนและผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องร่วมกัน

                       อาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชา ภายใต้เครื่องมือการ
               จัดการความรู้ “ชุมชนนักปฏิบัติ (Community  of  Practice-CoP)”และ “แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center  of
               Excellence-CoE)” ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้เป็นผู้ประสานหรือติดต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนั้นๆ เพื่อให้ทุกคน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52