Page 53 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 53

47


                            4. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อมหาวิทยาลัย คณะและสาขาวิชาฯ กล่าวคือ การจัดกิจกรรมใน
               ชุมชน ตลอดทั้งกระบวนการ ได้เป็นการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานเป็นที่รู้จักมากขึ้น  รวมทั้ง เกิดเครือข่าย

               ระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยที่จะเอื้อให้เกิดกิจกรรมอื่นๆ ได้ต่อเนื่อง
                            5.  ประโยชน์และคุณค่าอื่นๆ นับเป็นสิ่งส าคัญ ได้แก่ การที่นักศึกษาได้น าไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริม
               ระหว่างเรียน ด้วยการจ าหน่ายสินค้าแบบออนไลน์และการฝากขายที่ร้านค้าในชุมชน รวมทั้งเป็นประสบการณ์
               และแรงบันดาลใจในการคิดและสร้างเอกลักษณ์ผ่านงานออกแบบต่างๆ ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตัวเองได้ใน

               อนาคต
                       ปัจจัยที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนประสบผลส าเร็จ ได้แก่
                            1. อาจารย์ต้องไม่เป็นผู้สอน (Teacher) แต่ต้องท าหน้าที่เป็นผู้ให้ค าปรึกษา (Coach) และเปลี่ยน
               การเรียนรู้ของนักศึกษาจากผู้รับฟังอย่างเดียว (Passive Learner) มาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง (Self-Learner)

               โดยเป็นผู้เปิดโอกาสให้เกิดการแสดงความเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาในแต่ละขั้นตอน เพื่อน าไปสู่
               จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
                            2. การประเมินผลหรือทดสอบความเข้าใจ ต้องด าเนินการอยู่เป็นระยะๆ ทั้งการท าแบบทดสอบ
               ปกติ และในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการจนเกินไป วัดผลจากความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์มากกว่าความผิดถูก

               รวมทั้งไม่เน้นการต าหนิติเตียน แต่เป็นการชี้แนะให้เกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น
                            3. อาจารย์ควรวิเคราะห์พื้นฐานความรู้ความสามารถของผู้เรียนและบูรณาการกิจกรรมให้เข้ากับ
               ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการเรียนการสอนหลัก  ซึ่งในรายวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอนุรักษ์ฟื้นฟู

               ชุมชน ภายใต้ศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมผังเมือง
                            4. อาจารย์ต้องท าหน้าที่ช่วยประสานงานและอ านวยความสะดวกตามความจ าเป็น เช่น ติดต่อ
               สถานที่ เชิญตัวแทนชุมชนมาเพื่อแสดงความเห็นและให้คะแนน ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในภาพรวม ฯลฯ เพื่อให้
               การด าเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น สมบูรณ์
                            5. ระยะเวลา บรรยากาศและสถานที่ มีส่วนส าคัญในการด าเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบ

               ความส าเร็จ โดยเฉพาะกระบวนการถอดบทเรียน ซึ่งต้องมีลักษณะที่เอื้อให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น ควรมี
               เวลามากพอ ไม่เร่งเร้าจนเกิดความกดดัน และนักศึกษาไม่อยู่ในสภาวะที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจนเกินไป
                       ปัญหาและอุปสรรคที่ส าคัญต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวนี้ ได้แก่ ระยะเวลาในการ

               ด าเนินการ กล่าวคือ เพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุดท าให้ต้องใช้เวลา
               ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะช่วงเวลาในการผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากพอที่จะน ามาจ าหน่ายตามวันเวลาที่ก าหนด ซึ่ง
               เป็นช่วงที่นักศึกษาต้องปฏิบัติงานวิชาอื่นๆ ไปพร้อมกัน ท าให้ไม่สามารถด าเนินการในส่วนนี้ได้อย่างเต็มที่
               จ าเป็นต้องแบ่งเวลาไปท างานวิชาอื่นๆ ด้วย จึงมีแนวทางแก้ไข  คือ การปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติงานหรือลด

               ขั้นตอนการปฏิบัติงานบางส่วนลง หากพบปัญหา อุปสรรคอื่นๆ ระหว่างด าเนินการ ให้ปรับแก้ตามความเหมาะสม

               บรรณานุกรม

               คณะผู้จัดท ารวมกิจการเพื่อสังคมในไทย. 2555. SE Catalog รวมกิจการเพื่อสังคมในไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทชิล
                        แคปปิตัล จ ากัด.
               ปิ่นรัชฎ์  กาญจนัษฐิติ. 2552. การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

                        มหาวิทยาลัย.
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58