Page 52 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 52
46
(คณะผู้จัดท ารวมกิจการเพื่อสังคมในไทย, 2555) ประกอบกับใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวกระตุ้นในการอนุรักษ์ชุมชน
ให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าในพื้นที่ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ช่วยให้เกิดกิจกรรมในชุมชน เกิด
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี ท าให้เก่าไม่สูญเสียคุณค่าและความงดงามเฉพาะไป (ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ,
2552)
องค์ความรู้ที่ได้จะสะสมเป็นประสบการณ์ เป็นแรงบันดาลใจในการคิดและสร้างเอกลักษณ์ผ่านงานออกแบบต่างๆ
ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นของตัวเองได้ในอนาคต ดังที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้กล่าวถึงลักษณะของ
ผู้ประกอบการในอีก 10 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ระดับปริญญาตรีที่ได้รับการฝึกฝนด้านการค้าและ
วิชาชีพคล้ายกับช่างฝีมือในอดีต ไม่เฉพาะการผลิตสินค้าเท่านั้น แต่ยังรู้วิธีการที่จะจับเอากลุ่มลูกค้าและผู้ผลิตส่วน
ต่างๆ มารวมกัน จนสามารถตอบสนองลูกค้าที่มองหาสินค้าจากต้นก าเนิดหรือความพิเศษเฉพาะ ซึ่งก าลังเพิ่มมาก
ขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการที่เปี่ยมพลังนี้มีบทบาทในการก าหนดรูปร่างของเศรษฐกิจ
โลกอีกด้วย (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, 2557) การจัดการเรียนการสอนในวิชา การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้าง
ธุรกิจใหม่ ยังสามารถน ามาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นๆ เพื่อให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย มี
การบูรณาการรายวิชานี้กับสาขาวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอน และท ากิจกรรมร่วมกัน เช่น การฟังบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ
การออกร้านจ าหน่ายสินค้า ตลอดจน การออกแบบสินค้าร่วมกันระหว่างสาขาวิชา เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการ
จัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice)
และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ต่อไป
สรุปผลการด าเนินงาน
ภายหลังจากที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มาด าเนินการดังรายละเอียดข้างต้น พบว่า ได้
ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อตัวนักศึกษา นับเป็นคุณค่าสูงสุดของการจัดการเรียนการสอนที่ถูก
ออกแบบเพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ นักศึกษาทุกคน
ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะการได้ท าหน้าที่ตามความถนัด รวมทั้งได้รับการพัฒนาทักษะ
ด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งการคิด การวิเคราะห์ การแสดงออก การใช้ทักษะ ฝีมือและพรสวรรค์ที่ตนเองมีอยู่ออกมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาได้เข้าใจถึงกระบวนการท างานในชุมชน การใช้ทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ฟัง
การแสดงออกในที่สาธารณะและใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ซึ่งในทุกๆ กิจกรรมจะถูกประกอบขึ้นจากความ
ถนัดและพรสวรรค์ของนักศึกษาที่ร่วมมือกัน ภายใต้การเสริมสร้างและสอดแทรกเนื้อหาวิชาที่สอนร่วมกับศาสตร์
วิชาชีพที่นักศึกษาก าลังศึกษาอยู่ควบคู่กันไป นอกจากนั้น ยังพบว่า ผลจากการท าแบบทดสอบก่อนเรียนและหลัง
เรียนมีค่าคะแนนที่สูงขึ้นทุกคน
2. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่ออาจารย์ผู้สอน กล่าวคือ ผู้สอนได้ประสบการณ์ในการจัดการเรียน
การสอนที่ช่วยสร้างเสริมให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่จากสถานการณ์จริง ซึ่งจะต้องออกแบบให้ผู้เรียนได้มีโอกาส
เรียนรู้ในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงมากที่สุด ภายใต้ข้อจ ากัดด้านเวลาและทรัพยากรต่างๆ
3. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อชุมชน พบว่า โดยปกติในบริเวณที่นักศึกษาได้จัดกิจกรรมจะเป็น
บริเวณที่ค่อนข้างเงียบ ไม่มีกิจกรรม เนื่องจากอยู่ด้านในสุดของพื้นที่ เมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้
ท าให้พื้นที่เกิดความคึกคักมากขึ้น มีผู้คนให้ความสนใจและมาเลือกซื้อสินค้า ชุมชนได้ต้นแบบสินค้าที่ออกแบบโดย
นักศึกษาไปพัฒนาต่อเป็นของที่ระลึกประจ าชุมชนเพื่อจัดจ าหน่ายต่อไป