Page 247 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 247

241


               โดยตรงจากต่างประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้นการลงทุนในอุตสหกรรมยานยนต์
               ย่อมขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติด้วย ประกอบกับประเทศไทยจ าเป็นต้องพัฒนาทักษะฝีมือ

               แรงงานให้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถดูดซับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ อีกทั้งต้องมีนโยบาย
               ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติเกิดการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้ส่งผลกระทบ
               ภายนอกด้านบวกต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                       ดังนั้นการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่ก าหนดการส่งออกยานยนต์ของไทยจึงเป็นประเด็นหนึ่ง

               ที่มีความส าคัญ โดยเฉพาะการส่งออกไปออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศส่งออกอันดับหนึ่งของไทย และไทยเกินดุล
               การค้าในอุตสาหกรรมนี้ ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาตั้งแต่เริ่มพัฒนาประเทศ
               เพื่อที่จะได้น าผลการวิจัยไปประกอบการพิจารณาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการส่งออกยานยนต์


               วิธีการด าเนินงาน

                       วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
              โดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลารายปีตัวแปรการส่งออกหรือมูลค่าการส่งออกยานยนต์ไปออสเตรเลีย

              ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของออสเตรเลีย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
              จากเวบไซค์ www.UNCTAD.org กรมศุลกากร และธนาคารแห่งประเทศไทย รายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 – 2558
              รวม 17 ปี เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อการส่งออกยานยนต์ของไทยไปออสเตรเลีย อีกทั้ง
              ยังเก็บข้อมูลจากเอกสารวิชาการและฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อศึกษาสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์

                       วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                       วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงพรรณา (descriptive  analysis) เพื่อศึกษา
               ภาพรวมอุตสาหกรรม โดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เป็นต้น และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
               (quantitative  analysis)  เพื่อศึกษาปัจจัยทางศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อการส่งออกยานยนต์ของไทยไป
               ออสเตรเลีย โดยใช้แบบจ าลองเศรษฐมิติประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยแบบจ าลองสมการถดถอยเชิงซ้อน
               (Multiple Regression) โดยวิธีก าลังสองน้อยที่สุด (ordinary least square)


                       ตัวแปรและสมมติฐานการศึกษา
                       ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ
               ออสเตรเลีย (GDP) และอัตราแลกเปลี่ยน (EXC) ตัวแปรตาม คือ การส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ของ
               ประเทศไทยไปยังประเทศออสเตรเลีย  (EX) โดยมีสมมติฐานคือ(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ

               ออสเตรเลีย (GDP) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการส่งออกยานยนต์ กล่าวคือ ถ้าผลิตภัณฑ์มวลรวม
               ภายในประเทศเพิ่มขึ้น (ลดลง) จะท าให้การส่งออกยานยนต์ของไทยไปออสเตรเลียเพิ่มขึ้น (ลดลง) ทั้งนี้เพราะ
               ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสะท้อนอุปสงค์อ านาจซื้อโดยภาพรวมของประเทศ และ(2) อัตราแลกเปลี่ยน
               (EXC) ระหว่างดอลลาร์สหรัฐและบาทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการส่งออกยานยนต์ ทั้งนี้เพราะถ้า

               อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ท าให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ท าให้ราคาสินค้าส่งออกถูกลง ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น

                       แนวคิดทฤษฎี ตามทฤษฎีของอุปสงค์พบว่า ปัจจัยที่ก าหนดอุปสงค์หรือความต้องการซื้อขึ้นอยู่กับ
               ราคาสินค้า รายได้ของผู้บริโภค และราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะส่งออก

               สินค้าได้มากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับรายได้ของประชาชนในประเทศหรือภาพรวมศักยภาพการเจริญเติบโต
               ทางเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนโดยใช้ตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และขึ้นอยู่กับราคาสินค้าส่งออก
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252