Page 250 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 250
244
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขับเคลื่อนด้วยการวิจัย : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
st
Learning in the 21 Century Through Research-driven: Policy Recommendation
นวลละออ อานามวัฒน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
E-Mail: nuallaor2513@hotmail.com
บทสรุป
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (Research-driven) เป็นแนวทางหนึ่งที่ส าคัญของ
การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุน
การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้เพราะผลการวิจัยท าให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ทักษะ
เทคโนโลยีใหม่ และนวัตกรรมใหม่ ท าให้การผลิตสินค้าและบริการมีคุณภาพมากขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง และ
สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยลง
แนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขอบเขตขยายกว้างมากขึ้นและท้าทายความสามารถอาจารย์ ทั้งนี้
เพราะต้องเปลี่ยนบทบาทจาก“ผู้สอน” (Teacher) ไปเป็น “ผู้ฝึก”(Coach) หรือ “ผู้อ านวยความสะดวก”
(Facilitator) ในการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ขณะที่นักศึกษาต้องเรียนรู้
เองและลงมือปฎิบัติ ท าให้การเรียนการสอนต้องบูรณาการระหว่างหลักทฤษฎีไปสู่การปฎิบัติด้วยการยึด
โครงงานเป็นฐาน (Project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย แทนที่จะยึดต าราเป็นตัวขับเคลื่อน
(Textbook-driven)
รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์
ทางปัญญา (Constructionism) การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) และการ
จัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain-based Learning: BBL) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ประยุกต์ใช้รูปแบบ
การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ทางปัญญา โดยเน้นให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติจริงผ่านการวิจัย ผลศึกษาพบว่า
นักศึกษามีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เกิดองค์ความรู้จากการวิจัย กล้าคิด กล้าแสดงออก วางแผนเป็นระบบ
การที่จะท าให้การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขับเคลื่อนด้วยการวิจัยเดินทางไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์
การพัฒนาประเทศนั้น ปัจจัยด้านนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีบทบาทส าคัญ ได้แก่ นโยบาย
พัฒนาคุณภาพการศึกษาและอาจารย์อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง การเพิ่มน้ าหนักคะแนนด้านการวิจัย การ
ก าหนดวิสัยทัศน์ยกระดับคุณภาพการศึกษา การสร้างความเข้าใจให้ครู อาจารย์ทุกระดับสถาบันการศึกษาให้
ตะหนักถึงความส าคัญในการพัฒนาทักษะของนักเรียนนักศึกษา การก าหนดภาระงานให้เหมาะสม การ
ทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการท างาน ขึ้นอยู่กับบริบทของ
แต่ละมหาวิทยาลัย
ค าส าคัญ: การเรียนรู้วิจัย
Summary
st
Learning in the 21 century through research-driven approach is an important
procedure of human development for the lifelong learning society. Such a kind of learning
both increases our competitive advantage and promotes the economic development
toward stability, prosperity and sustainability. Any new knowledge base, advanced