Page 248 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 248
242
โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวแปรที่มีความผันผวนที่ท าให้ราคาสินค้าส่งออกผันผวนเช่นกัน ส่วนราคา
สินค้าที่เกี่ยวข้องนั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันหรือสินค้าที่ใช้ร่วมกัน
ส าหรับทฤษฎีที่อธิบายสาเหตุของการค้าระหว่างประเทศมีหลายทฤษฎีตั้งแต่ทฤษฎีความได้เปรียบ
โดยเด็ดขาดของ Adam Smith ซึ่งมีข้อสรุปว่าการค้าระหว่างประเทศเกิดเมื่อประเทศมีความได้เปรียบด้าน
ต้นทุนโดยสมบูรณ์ ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของ David Ricardo ให้ความส าคัญกับความได้เปรียบ
เชิงเปรียบเทียบ นอกจากนี้ก็มีทฤษฎีของเฮคเชอร์ – โอลินห์ ที่มีข้อสรุปว่า ประเทศจะส่งออกสินค้าที่ประเทศ
มีความได้เปรียบปัจจัยการผลิตและมี ราคาถูก และจะน าเข้าสินค้าที่มีปัจจัยการผลิตในประเทศขาดแคลนและ
มีราคาแพง หรือ ประเทศที่มีแรงงานมากจะส่งออกสินค้าประเภทเน้นแรงงาน และน าเข้าสินค้าประเภทเน้น
การใช้ทุน ท าให้ราคาสินค้าเปรียบเทียบของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างในความอุดมสมบูรณ์
ของปัจจัยการผลิต (Factor Abundance or Factor Endownments) ระหว่างประเทศเป็นตัวก าหนดความ
ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและการค้าต่างประเทศ
จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยหรือตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่ก าหนดอุปสงค์การ
ส่งออกยานยนต์โดยวิธีก าลังสองน้อยที่สุด (OLS) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของออสเตรเลีย
อัตราแลกเปลี่ยน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมออสเตรเลีย ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง ซึ่งปรากฎในการศึกษา
ของรณิสร แฉ่งเจริญ (2552) ทิชากร เกษรบัว (2555) ผลการศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมติฐานที่ก าหนดไว้
กล่าวคือ อุปสงค์การส่งออกขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับกับอัตราแลกเปลี่ยนและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ส่วนดัชนีผลผลิต
ภาคอุตสาหกรรมและราคาน้ ามันมีทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับสมมติฐานขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ไทย
ส่งออก
ส าหรับการศึกษาของพอพล อุยยานนท์ (2554) ได้น าตัวแปรอัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคารถยนต์ ราคา
น้ ามันดีเซล และข้อมูลของถนนเข้ามาวิเคราะห์ร่วมด้วย โดยวิธีก าลังสองน้อยที่สุด (OLS) พบว่า จุดแข็งของ
อุตสาหกรรมยานยนต์คือการไม่มีนโยบายรถยนต์แห่งชาติได้สร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติ การมี
อุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่จุดอ่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย คือ การขาด
แคลนแรงงานมีฝีมือ การถ่ายทอดเทคโนโลยียังมีน้อย และผู้ประกอบการไทยยังมีขนาดเล็ก โดยอุปสงค์ต่อการ
ใช้รถยนต์ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของถนนลาดยาง ทั้งนี้เนื่องจากการก่อสร้างถนนใหม่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์โดยตรง
ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลเป็นปัจจัยที่ส าคัญที่สุดในการก าหนดอุปสงค์ รองมาคือ ราคารถยนต์ ซึ่งเป็นไป
ตามสมมติฐาน เนื่องจากรถยนต์จัดว่าเป็นสินค้าจ าเป็นส าหรับผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ขณะที่ราคาน้ ามันมี
อิทธิพลต่ออุปสงค์ต่อยอดขายรถยนต์
ผลและอภิปรายผล
ผลการวิจัยสมการการส่งออกยานยนต์ของไทยไปออสเตรเลียด้วยวิธีก าลังสองน้อยที่สุด (OLS) ได้ค่า
สัมประสิทธิ์ ดังนี้
Log(Ex) = -35.99 + 4.49log(GDP) – 4.60log(EXC)
(-2.73) (5.12) (-10.93)
Adjust R – Squared = 0.9