Page 252 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 252

246


                       แนวคิดการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21  ขยายขอบเขตกว้างมากขึ้น กล่าวคือ ครู ต้องไม่
               สอน แต่ต้องเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้สอน” (Teacher) ไปเป็น “ผู้ฝึก” (Coach) หรือ “ผู้อ านวยความสะดวก”

               (Facilitator) ในการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และนักศึกษาต้องเรียนรู้เอง
               และลงมือปฎิบัติ ท าให้การเรียนการสอนต้องสอดแทรกให้เกิดการพัฒนาทักษะมากขึ้นนอกเหนือจากความ
               เข้าใจในเนื้อหาวิชา นั่นคือ การบูรณาการระหว่างหลักทฤษฎีไปสู่การปฎิบัติด้วยการยึดโครงงานเป็นฐาน
               (Project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (Research-driven) ที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น ชุมชน ประเทศ และ

               โลก แทนที่จะยึดต าราเป็นตัวขับเคลื่อน (Textbook-driven) ดังเช่นในอดีต
                                                                                         1
                       กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ ดังนี้
                       1) การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructionism) โดยมีหลักการคือ เป็นนวัตกรรมการ
                จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมใหผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเป็น ท าเป็น แก้ปัญหาเป็น และสร้างองค์

                ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติหรือสร้างชิ้นงานจากการท าโครงงาน (Project  Based
                Learning) หรือการวิจัย (Research)
                       2) การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (Science,  Technology,  Engineering  and
                Mathematic Education: STEM Education) โดยมีหลักการคือการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด

                วิเคราะห์ และสร้างนวัตกรรมใหม่  ๆ ที่ใช้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทาง
                วิศวกรรม
                       3) การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain-based Learning: BBL) โดยมีหลักการคือการ

                จัดการเรียนรู้และอบรมเลี้ยงดูเด็กให้สอดคล้องกับธรรมชาติและการท างานของสมอง การจัดการเรียนการ
                สอนในศตรวรรษที่ 21  ท้าทายความสามารถของอาจารย์ผู้สอน กล่าวคือ การเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนไป
                เป็นผู้ฝึกหรือโค้ชนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้เพราะสนามการเรียนรู้มีทั้งในและนอกห้องเรียน อาจารย์ต้องบูรณา
                การระหว่างเนื้อหาสาระวิชากับการปฎิบัติ โดยใช้โครงงานหรือการวิจัยเป็นตัวขับเคลื่อนแทนที่จะยึดต ารา
                อย่างเดียว นั่นคือ การวิจัยเป็นเครื่องยนต์ของการเรียนการสอนท าให้อาจารย์ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพด้วยการ

                ท าวิจัยหรือผลงานทางวิชาการด้วย เพื่อให้เป็นโค้ชที่ให้แนะน านักศึกษาได้
                       อย่างไรก็ตาม  สถานการณ์คุณภาพการศึกษาของไทยยังมีจุดอ่อน ปรากฎได้จากผลทดสอบทาง

                การศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ตั้งแต่ในปี 2554  ถึง 2558 ตามตารางที่ 1  พบว่า ผลการสอบของ
                นักเรียนทุกระดับชั้นมีคะแนนต่ ากว่าเกณฑ์ (ต่ ากว่าร้อยละ 50) มีเพียงบางปีและบางวิชาที่คะแนนสูงกว่า

                เกณฑ์เล็กน้อย (ภาษาไทยและสังคม) ส่วนวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ยังมีคะแนนต่ าสุด (เฉลี่ยร้อยละ
                20) แม้ว่าประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายรวม หรือกว่า 50,000 ล้าน

                บาทต่อปี และมีสัดส่วนงบประมาณการศึกษาต่องบประมาณรวมของไทยอยู่ในอันดับแรกของภูมิภาค ขณะที่

                ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ International  Institute  for
                Management (IMD) ในด้านการศึกษาของ 61 ประเทศทั่วโลกพบว่า อันดับการศึกษาของไทยลดลงจากเดิม

                ในปี 2558 อยู่ในอันดับที่ 48 แต่ในปี 2559 อยู่ในอันดับที่ 52
   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257