Page 255 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 255
249
ผลการด าเนินงาน
ตารางที่ 3 ข้อค้นพบจากการเรียนการสอนขับเคลื่อนด้วยการวิจัย
ประเด็น วิชาปัญหาพิเศษ นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
1. การจัดการเรียนรู้ 1.1 นักศึกษาเลือกหัวข้อวิจัยตามถนัดและสนใจ
1.2 นักศึกษาลงมือปฎิบัติงานวิจัยด้วยการค้นคว้าและ
รวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจ
1.3 นักศึกษาจัดท ารายงานวิจัย และเขียนบทความวิจัย
2. บทบาทของอาจารย์ อาจารย์เป็นผู้ฝึก ผู้ให้ค าแนะน า ค าปรึกษา (Coach) และ
ให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติเอง
3. สถานที่ของการเรียนรู้ ทุกที่ทั้งในและนอกห้องเรียน
4. ผลสัมฤทธ์ทางการเรียนและการวัดผล 5.1 รายงานวิจัยของนักศึกษา
5.2 การมีบทความวิจัยน าเสนอในการประชุมวิชาการ
ระดับชาติในการประชุมครั้งนี้ด้วย (นักศึกษาบางคน)
5.3 นักศึกษาเข้าใจข้อมูลเศรษฐกิจผ่านการท าวิจัยมากขึ้น
ปัจจัยความส าเร็จ
ปัจจัยความส าเร็จของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขับเคลื่อนด้วยการวิจัย ขึ้นอยู่กับสามปัจจัยหลัก
ได้แก่ การพัฒนาทักษะนักศึกษา การพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ และนโยบายส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและ
ชัดเจนของหน่วยงาน ซึ่งการวัดระดับความส าเร็จก็แตกต่างกันและต้องใช้ระยะเวลา ถ้าเป็นการวัดด้าน
นักศึกษาระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษาก็เป็นการวัดในระยะสั้น ถ้านักศึกษาสามารถท ารายงานวิจัยและเขียน
บทความวิจัยเผยแพร่ได้ก็ถือว่าเป็นความส าเร็จในระดับเบื้องต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการท างานวิจัย
ของอาจารย์ผู้สอนและนโยบายส่งเสริมของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดแรงผลัก แรงจูงใจ และแรงบันดาลใจ ด้วย
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อสร้างแรงขับมาแล้วปรากฎได้จากการก าหนด
หลักเกณฑ์พัฒนาคุณภาพอาจารย์ เข่น การก าหนดให้อาจารย์ต้องท าวิจัย การขอต าแหน่งทางวิชาการภายใน
ระยะเวลาที่ก าหนด เป็นต้น เพราะมีผลต่อการต่ออายุสัญญาการท างานและการประเมินผลงาน ส าหรับ
แรงจูงใจอยู่ในรูปของผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน (เช่น เงินประจ าต าแหน่ง เพิ่มฐานการค านวณเงินเดือน)
และผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน (เช่น ทักษะวิชาการ ต าแหน่ง การต่อยอดงานวิจัย เป็นต้น) สิ่งที่ส าคัญ คือ แรง
บันดาลใจ เพราะหมายถึง การท าวิจัยและผลงานวิชาการด้วยความสนใจ ความสมัครใจ ซึ่งท าให้เกิดการ
พัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการวิจัย อันมีส่วนพัฒนาคนสู่สังคม
การเรียนรู้ตลอดชีวิต