Page 275 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 275

269


               ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์การอภิปรายผลต้องอ้างอิงทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมารองรับผลของการวิจัย
               ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อสรุป


                       แนวทางและความเหมาะสมในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ
                       1. การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนักวิจัยต้องมีการออกแบบการด าเนินการศึกษาอย่างเป็นระบบ
               มีขั้นตอนที่ชัดเจน และต้องให้ความส าคัญกับเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย

                       2. นักวิจัยต้องมีความรอบรู้ รวมทั้งมีทักษะในการรวบรวมข้อมูล และคัดกรองข้อมูลได้อย่าง
               ครบถ้วนเพื่อผลของการวิจัยที่มีความสมบูรณ์
                       3. ต้องมีการศึกษาและทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบทุกด้าน
                       4. การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาต้องเป็นกลุ่มที่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างแท้จริง

                       การวางกรอบแนวคิดในการวิจัยและการรวบรวมเอกสาร
                       1. นักวิจัยต้องด าเนินการศึกษาโดยการทบทวนเอกสารที่เป็นทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้อง
               โดยตรง มีการศึกษางานวิจัยที่ถูกค้นพบในหลายแง่มุม และมีการผสมผสานความรู้ของนักวิจัยที่ใช้
               ประสบการณ์ที่ผ่านมาของนักวิจัยมาใช้ส าหรับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ

                       2. กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพสามารถยืดหยุ่นได้ตามความ
               เหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการศึกษาและความสามารถในการรวบรวมข้อมูลหลักของผู้วิจัยด้วยเป็นส าคัญ
                       3. การวางแผนกรอบแนวคิดในการวิจัยจะต้องสะท้อนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยง

               ระหว่างกัน ซึ่งนักวิจัยที่ออกแบบกรอบแนวคิดจะมองเห็นตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้อย่าง
               ลึกซึ้ง
                       วิธีการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล
                              วิธีการวิจัยของงานวิจัยเชิงคุณภาพ
                       1. ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจะต้องเริ่มต้นจากการศึกษาทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้

               ส าหรับการสร้างกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย
                       2. หลักจากได้กรอบแนวคิดจึงก าหนดกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาวิจัย เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของ
               กลุ่มตัวอย่าง

                       3. มีการสร้างสมมติฐานหรือค าถามในการศึกษาวิจัยจากนั้น ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ
               ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความครบถ้วน โดยให้ความส าคัญในการศึกษาตามข้อ
               สมมติฐานหรือค าถามในการวิจัยที่ได้มีการก าหนดไว้
                       4. ด าเนินการสรุปเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น


                       วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ
                       การเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถท าได้โดยเทคนิคที่ส าคัญ คือการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การ
               สังเกต และการอภิปรายกลุ่ม

                       การวิเคราะห์และการสรุปผลเพื่อสร้างองค์ความรู้
                       1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นั้นนักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ตลอดเวลาไม่จ าเป็นต้องให้
               เก็บรวบรวมข้อมูลจนเสร็จสิ้น โดยขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ส าคัญคือ
                              1) อ่านท าความเข้าใจและจับประเด็นหลัก

                              2) ให้รหัสข้อมูล
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280