Page 350 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 350
344
วิธีการด าเนินงาน
การด าเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับ “ด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ” ได้ใช้
เครื่องมือของการจัดการความรู้ในรูปแบบของการจัดกลุ่ม การรวมตัวกัน ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ าเสมอ โดยมีขั้นตอนการด าเนินงาน ดังนี้
1. ประชุมร่วมกันเพื่อก าหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผน
กลยุทธ์ของคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ด้านการ
เรียนการสอน โดยมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียนการสอน จ านวน 20 คน ประกอบด้วย อาจารย์
ประจ าสาขาทั้งหมด 10 สาขาวิชา จ านวนสาขาละ 2 คน ได้แก่ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาระบบสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยี
สารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และสาขาวิชา
เทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก าหนดประเด็นความรู้ และเป้าหมาย
การจัดการความรู้ คือ ประเด็น “ด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ” โดยต้องการให้ผู้เรียนรู้จัก
แสวงหาความรู้ มีการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา สามารถน ามาปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งเป้าหมายในการ
จัดการความรู้ คือ มีจ านวนของสาขาวิชาฯ อย่างน้อย 5 สาขาวิชา ที่ได้น าเทคนิคการเรียนการสอนไปใช้ใน
การพัฒนากลยุทธ์การสอน
2. ก าหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต
นักปฏิบัติ ประกอบด้วยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอน จ านวน 20 คน ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเป็นจ านวน 8
ครั้ง พร้อมกับมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ทางด้านเทคนิคการเรียนการสอน การเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 และการวัดผลประเมินผล ทั้งในภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จ านวน 3 ท่าน ได้แก่
ผู้แลกเปลี่ยนภายใน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์วรรณ เมณฑากานุวงษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะ
บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ แลกเปลี่ยนในหัวข้อเรื่อง “แนวทางการสร้างองค์ความรู้และการ
เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ของคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2558
ผู้แลกเปลี่ยนภายนอก
1. รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
แลกเปลี่ยนในหัวข้อเรื่อง “การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เมื่อวันที่
7 มีนาคม 2559
2. รองศาสตราจารย์.ดร. อุษาพร เสวกวิ ผู้อ านวยการส านักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แลกเปลี่ยนในหัวข้อเรื่อง “การประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เมื่อวันที่
14 มีนาคม 2559
3. แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge)
เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเรียนการสอน เผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณาจารย์ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ในส่วนของการเรียนการสอนเมื่อวันที่
22 มีนาคม 2559